หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 6


ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงานโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ตามที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ ดังนี้
          1. ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ)
          2. ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินฯ)
          3. ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตต่อการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินฯ)
          ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) จะดำเนินการเฝ้าระวังการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการตามพระราชกำหนดดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป
          สาระสำคัญของเรื่อง
          คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า
          1. ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชกำหนดฯ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ (2) พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินฯ และ (3) พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินฯ รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 1.9 ล้านล้านบาท ต่อมาได้มีนักวิชาการ สื่อมวลชน ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและที่ประชุมวุฒิสภาแสดงความคิดเห็นและข้อห่วงใยต่อการดำเนินการตามพระราชกำหนดดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่า หรือไม่เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดฯ รวมทั้งอาจเกิดการทุจริตจากการดำเนินตามแผนงาน/โครงการได้
          2. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า ภายหลังที่พระราชกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้ คาดว่าหน่วยงานต่างๆ จะเร่งดำเนินการเสนอโครงการตามแผนงานที่กำหนดไว้ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมได้ทันท่วงที จึงอาจเร่งดำเนินการทำให้การพิจารณาอนุมัติแผนงานหรือโครงการไม่รอบคอบเท่าที่ควร และอาจมีการยกเว้นกฎระเบียบบางประการอันอาจนำไปสู่ช่องทางในการทุจริตได้
          3. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 70/2563 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 ได้พิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชกำหนดจำนวน 3 ฉบับ แล้ว ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้นำข้อสังเกตของที่ประชุมฯ ไปปรับแก้ไขเพิ่มเติมแล้วเสนอให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยรายละเอียดของข้อเสนอแนะฯ สรุปได้ ดังนี้
              3.1 พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ
                    3.1.1 ควรกำหนดมาตรการเสริมในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) เช่น หมวด 2 ของระเบียบสำนักนายกรัฐนตรีฯ การเสนอ การพิจารณากลั่นกรอง และการอนุมัติโครงการ ควรกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่จัดทำโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ จะต้องมีการวางกระบวนการ/กิจกรรม รวมทั้งการประเมินเพื่อลดความเสี่ยงและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นไว้ในโครงการที่จะเสนอด้วย โดยนำข้อกำหนดตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายนำมาปรับประยุกต์ใช้เท่าที่ไม่ขัดหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ หากโครงการที่ไม่มีกระบวการที่ว่าไว้นี้ ผู้มีอำนาจพิจารณาในแต่ละลำดับอาจมีความเห็นให้ทบทวนหรือไม่อนุมัติโครงการได้ โดยคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายงินกู้ (คกง.) ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการทุจริตก่อนพิจารณาอนุมัติโครงการ เป็นต้น
                    3.1.2 ควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
                             1) หมวด 2 การเสนอ การพิจารณากลั่นกรองและการอนุมัติโครงการ ควรขยายระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้เกิดความคุ้มค่าและสามารถแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง
                             2) ควรกำหนดบทลงโทษ กรณีหน่วยงานของรัฐใดได้รับการกลั่นกรองและอนุมัติโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้จาก คกง. แล้ว แต่ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงไปดำเนินโครงการอย่างอื่นโดยยังไม่ผ่านความเห็นชอบจาก คกง. ให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
                    3.1.3 คกง. ควรกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอโครงการในรูปแบบไฟล์ Microsoft Excel และนำระบบการวิเคราะห์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ เพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการ โดยควรมีคณะตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของโครงการซึ่งเป็นผู้แทนจากภาคเอกชนร่วมด้วย
                    3.1.4 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ควรจัดทำ “เว็บไซต์เฉพาะ” สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหากมีการจัดซื้อจัดจ้างควรเปิดเผยวิธีการจัดซื้อจัดจ้างและบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับรัฐแบบ Real Time Online ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
                    3.1.5 ควรแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนจากภาคเอกชน ภาคประชาชน และนักวิชาการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เป็น คกง. ร่วมด้วย เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินใจโครงการ
                    3.1.6 ควรกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่ดำเนินโครงการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ทุกโครงการควรมีการลงนามในข้อตกลงคุณธรรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตหรือคณะอนุกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตกำหนดและในกรณีโครงการขนาดใหญ่ ควรเข้าร่วมโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ
              3.2 พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ได้รับการช่วยเหลือ โดยคำนึงถึงกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการและอาจเปิดเผยผ่านช่องทางเว็บไซต์ของ ธปท. หรือเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
              3.3 พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินฯ เช่น (1) ธปท. ควรกำหนดหลักกณฑ์การพิจารณา โดยให้สถาบันการเงินประเมินแผนงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ขอกู้เงิน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม (2) ธปท. ควรเปิดเผยรายชื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบนเว็บไซต์ของ ธปท. แบบ Real Time รวมทั้งควรส่งรายชื่อดังกล่าวให้บริษัทข้อมูลเครติตแห่งชาติ จำกัด เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 กันยายน 2563
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


A9355

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!