หมวดหมู่: พาณิชย์

1aaa วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล


วีรศักดิ์ ลงพื้นที่อุบลฯ ชี้ช่องเกษตรกรโคเนื้อ-เกษตรอินทรีย์ใช้เอฟทีเอขยายตลาด

      วีรศักดิ์ นำทีมกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบปะหารือกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการโคเนื้อและเกษตรอินทรีย์ ชี้ช่องทางการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอในการขยายตลาดต่างประเทศ

      นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จะนำผู้บริหารจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 26–27 ก.ย.2563 เพื่อไปหารือกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสินค้าโคเนื้อและเกษตรอินทรีย์ที่มีการผลิตกระจายในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัด และเป็นสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ สามารถผลักดันเข้าสู่ตลาดการค้าเสรีได้ โดยจะใช้โอกาสนี้ ร่วมกันหาช่องทางส่งออกสินค้าของท้องถิ่นไปต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ฉบับต่างๆ อย่างเต็มที่ เพราะเอฟทีเอถือเป็นข้อได้เปรียบ ช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจ เพิ่มแต้มต่อทางการค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

       ทั้งนี้ ยังมีกำหนดเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโคเนื้อคูเมือง รวมถึงวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง เพื่อดูแนวทางการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการด้วย

      นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ ‘เพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี’ ที่กรมฯ ได้ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสินค้าโคเนื้อและเกษตรอินทรีย์ เข้าสู่ตลาดการค้าเสรี โดยจะแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์กับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมพัฒนาสินค้าและเพิ่มมูลค่าในหัวข้อ ‘บทบาทของอุทยานวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการ เข้าสู่ตลาดการค้าเสรี” หลังจากนั้น จะหารือกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อคูเมือง อำเภอวารินชำราบ ในประเด็น ‘การพัฒนาศักยภาพสินค้าโคเนื้อ เพื่อส่งออกในตลาดการค้าเสรี’พร้อมกับเยี่ยมชมฟาร์มโคเนื้อของวิสาหกิจชุมชน

        “จะหารือกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง อำเภอสำโรง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็น “ทิศทางการค้าของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดการค้าเสรี” เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเข้าใจเรื่องช่องทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี 13 ฉบับ ในการส่งออกไปตลาดคู่ค้า 18 ประเทศ เช่น อาเซียน จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น โดยประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรให้กับไทยแล้ว จึงถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ”นางอรมนกล่าว

       ในปี 2562 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป มูลค่า 40,560.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 7 เดือนของปี 2563 (ม.ค.–ก.ค.) ส่งออกไปแล้ว 23,041 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.4% โดยสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เช่น ผลไม้ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 17.3% ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง 536 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 26.3% ปศุสัตว์ 506 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 112.7% เป็นต้น และหากนับเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรไป 18 ประเทศคู่เอฟทีเอของไทย พบว่า การส่งออกในช่วง 7 เดือนของปี 2563 ขยายตัว 0.6% แม้จะเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพสินค้าเกษตรของไทย  

'วีรศักดิ์' เตรียมนำทีมลงพื้นที่อุบลฯ ช่วยเกษตรกรโคเนื้อและเกษตรอินทรีย์ หาช่องทางส่งออกไปตลาดโลกด้วย FTA

      รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เตรียมนำทีมกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี หาทางช่วยเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ยกระดับสินค้าโคเนื้อและเกษตรอินทรีย์และช่องทางส่งออกไปตลาดโลกด้วยเอฟทีเอ พร้อมเยี่ยมชมศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดูแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพเกษตรกรและผู้ประกอบการ

      นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เตรียมนำผู้บริหารกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 26 – 27 กันยายน 2563 ไปหารือเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสินค้าโคเนื้อและเกษตรอินทรีย์ที่มีการผลิตกระจายในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัด และเป็นสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพสามารถผลักดันเข้าสู่ตลาดการค้าเสรีได้ เพื่อมาร่วมกันหาช่องทางส่งออกสินค้าของท้องถิ่นไปต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ฉบับต่างๆ อย่างเต็มที่ ซึ่ง เอฟทีเอถือเป็นข้อได้เปรียบ ช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจ เพิ่มแต้มต่อทางการค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

       “นอกจากนี้ จะใช้โอกาสนี้ เยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโคเนื้อคูเมือง รวมถึงวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง เพื่อดูแนวทางการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้และที่ผ่านมาสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ให้ความสำคัญกับเกษตรกร ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มุ่งพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง” นายวีรศักดิ์ เสริม

       นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ “เพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี” ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ  จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสินค้าโคเนื้อและเกษตรอินทรีย์ เข้าสู่ตลาดการค้าเสรี โดยจะแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์กับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมพัฒนาสินค้าและเพิ่มมูลค่า กันในหัวข้อ “บทบาทของอุทยานวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการ เข้าสู่ตลาดการค้าเสรี” หลังจากนั้น จะหารือกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อคูเมือง อำเภอวารินชำราบ ในประเด็น “การพัฒนาศักยภาพสินค้าโคเนื้อ เพื่อส่งออกในตลาดการค้าเสรี” พร้อมกับเยี่ยมชมฟาร์มโคเนื้อของวิสาหกิจชุมชน

      นางอรมน เพิ่มเติมว่า ในโอกาสนี้ จะหารือกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง อำเภอสำโรง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็น “ทิศทางการค้าของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดการค้าเสรี” กระตุ้นให้เกษตรกรเข้าใจเรื่องช่องทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี 13 ฉบับ ในการส่งออกไปตลาดคู่ค้า 18 ประเทศ เช่น อาเซียน จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น โดยประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรให้กับไทยแล้ว จึงถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ

      ทั้งนี้ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ในปี 2562 มีมูลค่าส่งออกกว่า 40,560.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค. – ก.ค.) ส่งออกไปแล้วกว่า 23,041 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 3.4% ซึ่งคาดว่าในภาพรวมสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ชะลอตัว โดยสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เช่น ผลไม้ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 17.3%) ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง 536 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 26.3%) ปศุสัตว์ 506 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 112.7%) เป็นต้น ทั้งนี้ หากนับเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรไป 18 ประเทศคู่ FTA ของไทย จะพบว่า การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 63 ยังคงขยายตัว 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 แม้จะเผชิญวิกฤติ โควิด-19 ซึ่งแสดงถึงศักยภาพสินค้าเกษตรของไทย

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!