หมวดหมู่: บทวิเคราะห์

บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 29-5-2020FSS2


กลยุทธ์วันนี้ >> Focus on Laggard and Defensive Play

         ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวบวกได้กว่า 10 จุดในช่วงเช้าก่อนที่ช่วงบ่ายจะมีแรงขายออกมาและกดดันให้ดัชนีพลิกมาปิดลบ 7.60 จุด ณ สิ้นวัน โดยมีแรงกดดันจากประเด็นที่จีนผ่านความเห็นชอบกฎหมายความมั่นคงในฮ่องกง กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีปรับตัวลง ขณะที่กลุ่มที่บวกได้แข็งแกร่งคือกลุ่มธนาคารตามคาด สถาบันในประเทศยังซื้อสุทธิอีก 1.5 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 763 ลบ. (และ Short Index Futures 1.1 พันสัญญา)

         แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET Index จะแกว่งตัว Sideways Down พักฐานในกรอบ 1,320-1,345 จุดจากบรรยากาศการลงทุนที่เป็นลบโดยสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น วานนี้สภาใหญ่จีนผ่านความเห็นชอบกฎหมายความมั่นคงในฮ่องกงซึ่งเป็นเป้าโจมตีของสหรัฐฯในแง่การริดรอนเสรีภาพของฮ่องกง โดยคืนนี้ทรัมป์จะแถลงนโยบายฉบับใหม่ที่จะดำเนินการกับจีนต่อสื่อคืนนี้ นอกจากนี้ดัชนีได้ปรับตัวขึ้น Price-In ประเด็นบวกจากการ Reopen Economy ไปมากพอสมควรทำให้ Valuation ค่อนข้างแพง โดย 2020-2021PER อยู่ที่ 19 เท่าและ 15.7 เท่าตามลำดับ เราประเมินกรอบบนของดัชนีรอบนี้เต็มที่บริเวณ 1,360-1,400 จุดซึ่งเทียบเท่า 2021PER ราว 16.5 เท่า โดยมี Upside ไม่มาก ระยะสั้นจึงเน้นเลือกลงทุนในกลุ่มที่ยัง Laggard และ Defensive เช่น กลุ่มการแพทย์ สื่อสารฯ อาหาร ธนาคาร ส่วนระยะกลาง-ยาวยังรอจังหวะพักฐานก่อนเข้าสะสมอีกครั้ง

         กลยุทธ์ : เน้นเก็งกำไรหุ้นที่ยัง Laggard และ Defensive//รอจังหวะปรับฐานของดัชนีก่อนทยอยสะสมหุ้นพื้นฐาน

         หุ้นเด่นเดือน พ.ค. : BCH, CPF, INTUCH, KCE, OSP

หุ้นเด่นวันนี้: CPF        

         - แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 36 บาท

         - เป็นหุ้นปลอดภัยเมื่อสหรัฐ-จีนตึงเครียดกันอีกครั้งเพราะอยู่ในกลุ่มอาหารและได้ประโยชน์จากราคาหมูในเวียดนามที่ปรับสูงขึ้นมากเป็น 1 แสนด่อง/กก.

         - Demand เริ่มกลับมาหลังการคลาย lockdown และได้อานิสงส์จากลูกค้าในเอเชียหันมาการนำเข้าไก่จากไทยมากขึ้น เพราะคู่แข่งรายใหญ่อย่างสหรัฐและบราซิลได้รับผลกระทบ COVID-19 ทำให้หลายโรงชำแหละปิดตัวลงชั่วคราว

         - อาจมี Bio gain ก้อนใหญ่ใน 2Q20 เพราะราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น

Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนยังไหลออกจากภูมิภาคแต่บางลงเหลือ US$241ล้าน โดยเม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากไต้หวัน US$267ล้าน ส่วนประเทศอื่นๆไหลออกสลับไหลเข้า ขณะที่ไทยยังไหลออกต่อเนื่องอีก US$24ล้านมากที่สุดในกลุ่ม TIPS แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะยังอยู่ในทิศทางไหลออกและเร่งตัวขึ้นจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนที่สูงขึ้นหลังจีนผ่านความเห็นชอบกฎหมายความมั่นคงในฮ่องกง

ประเด็นสำคัญวันนี้

         (+) ศบค.พิจารณาวันนี้ ลุ้นว่ากิจการใดจะได้รับการผ่อนปรนระยะที่ 3 โดยจะเป็นกลุ่มเสี่ยงมากขึ้นกว่าระยะ 1-2 อาจเป็นโรงหนัง ร้านนวดแผนโบราณหรือสปา ศูนย์ประชุม และอาจลดเวลาเคอร์ฟิว (MAJOR, SPA, IMPACT, CPALL, CPN, CRC) เริ่ม 1 มิ.ย.  

         (+) กรมสรรพสามิตไม่แทรกแซงตลาดรถยนต์ วานนี้กรมสรรพสามิตปัดตกข้อเสนอที่ให้ลดภาษีสรรพสามิตรถใหม่ 50% ส่วน ส.อ.ท. จะพิจารณาแนวทางอื่น เช่นจัดโปรโมชั่น ลดเงินดาวน์ เพื่อกระตุ้นยอดขายเพราะ 4M20 ยอดขายรถหายไปกว่า 50-60% และคาดว่าทั้งปีจะขายได้ 50% ของเป้าหมาย 1 ล้านคัน กลุ่ม Auto มีแรงขายตั้งแต่บ่ายวานนี้และน่าจะต่อเนื่อง เราไม่แนะนำแม้จะเป็นกลุ่มที่ laggard

         (+) BCH เดือน เม.ย. ถูกกระทบหนักจากการ Lockdown ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการทั้งไทยและต่างชาติในส่วน WMC หดตัวลงอย่างมีนัยยะ แต่ได้ตัวช่วยคือรายได้ประกันสังคมที่โตทั้งจำนวนผู้ประกันตนและการปรับขึ้นค่าหัวเฉลี่ย 7% ตั้งแต่ต้นปี และรายได้จากการตรวจหาเชื้อ COVID-19 เราคาดกำไรปกติ 2Q20 ราว 230 ลบ. -11% Q-Q, -6% Y-Y เป็นจุดต่ำสุดของปี ปัจจุบัน BCH ได้ร่วมมือกับหลายโรงแรมให้บริการ Alternative State Quarantine ทำให้กำไรผันผวนน้อยกว่ากลุ่ม ยังคงคาดกำไรปกติปีนี้ +2% Y-Y ราคาเป้าหมาย 16 บาท แนะนำซื้อ

         (+) EPG กำไรปกติ 4Q20 (ม.ค.-มี.ค. 2020) ตามคาด 203 ล้านบาท -4.0% Q-Q, +21.3% Y-Y เป็นกำไรที่ต่ำกว่าศักยภาพของบริษัทเพราะ 2 ใน 3 ของธุรกิจ (70% ของรายได้รวม) ถูกกระทบจาก COVID-19 และอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกชะลอ อย่างไรก็ตาม กำไรทั้งปีพลิกมาโต 4% จากหดตัวในช่วง 2 ปีก่อนหน้า EPG จ่ายปันผล 0.12 บ/หุ้น (yield 2.3%) XD 6 ส.ค. คาดกำไรปี 2021 (สิ้นสุด มี.ค. 2021) ฟื้นต่อแบบอ่อนๆ +5% จากวัตถุดิบที่ลดลง คงเป้า 7 บาท ปัจจุบันมี PE 13.6 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 22 เท่า แนะนำซื้อ

         (0) MSCI Rebalance วันนี้ หุ้นไทยที่ได้เข้าคำนวณมี AWC, BAM, KTC ส่วน BANPU ถูกนำออกจาก Global Standard Index ไปเข้า Small cap แทน ดัชนี MSCI Small cap ยังมีหุ้น 16 ตัวที่ถูกนำออกจากดัชนี มีผล 29 พ.ค.

         (-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 147.63 จุด ปิดที่ 25,400.64 จุด หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่าจะประกาศนโยบายฉบับใหม่ของสหรัฐที่จะดำเนินการกับจีนในวันนี้ เนื่องจากไม่พอใจที่จีนบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ในฮ่องกง รวมถึงถูกกดดันจากการปรับลงของหุ้นเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ หลังจากปธน.ทรัมป์ลงนามในคำสั่งทบทวนกฎหมายคุ้มครองบริษัทโซเชียลมีเดีย

         (+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก จากความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเปิดดำเนินการธุรกิจ หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศต่างๆ รวมถึงสหภาพยุโรป (EU) ได้เปิดเผยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรปวงเงิน 7.50 แสนล้านยูโร (8.26 แสนล้านดอลลาร์) และคาดว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะขยายโครงการซื้อพันธบัตรด้วยวงเงินราว 5 แสนล้านยูโรในสัปดาห์หน้า

         (-) ตลาดเอเชียปรับลง จากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน หลังจากรัฐสภาจีนอนุมัติเดินหน้าบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกง ซึ่งสหรัฐระบุว่าจะส่งผลกระทบต่อเอกราชของฮ่องกง และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เผยว่าจะประกาศนโยบายฉบับใหม่ของสหรัฐที่จะดำเนินการกับจีนในวันนี้

         (+) ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 31.85 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

         (+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 90 เซนต์ หรือ 2.7% ปิดที่ 33.71 ดอลลาร์/บาร์เรล จากรายงานของ EIA สต็อกน้ำมันเบนซินในสัปดาห์ที่ผ่านมา ลดลง 700,000 บาร์เรล อย่างไรก็ดี สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐปรับขึ้น 7.9 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางนักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักลงทุนติดตามการประชุมของกลุ่มโอเปกพลัส ในช่วงต้นเดือนมิ.ย. และความเคลื่อนไหวของรัสเซีย

         (+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 1.5 ดอลลาร์ หรือ 0.09% ปิดที่ 1,728.3 ดอลลาร์/ออนซ์ ฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย จากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1119.63 / +0.58

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

29 พ.ค.   - ไทย: ธปท.รายงานภาวะศก.เดือน เม.ย.

         - MSCI Rebalance

31 พ.ค.   - จีน: Manufacturing & Non-Mfg. PMI (พ.ค.)

1 มิ.ย.    - ไทย: Business Sentiment Index (พ.ค.)

         - จีน: Caixin PMI Manfacturing (พ.ค.)

         - สหรัฐ: ISM Manufacturing (พ.ค.)

2 มิ.ย.   - เกาหลีใต้: 1Q20 GDP

         - ยูโรโซน: Markit Manufacturing PMI (พ.ค.)

Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530

Contact person : Veeravat Virochpoka Register : 047077

www.fnsyrus.com

FB: Finansia Syrus Research

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!