หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV copy copy copy


รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้จัดทำขึ้น [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. เศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาประกอบกับการส่งออกเอเชียที่ฟื้นตัวดีขึ้นเป็นสำคัญ และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากการกระจายวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เร่งตัวมากขึ้นในหลายประเทศ และการมีแรงสนับสนุนจากมาตรการการคลังที่ออกมาอย่างต่อเนื่องและนโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลาย ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในปี 2564 และ 2565 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 3.8 ตามลำดับ โดยภาครัฐทั่วโลกยังดำเนินมาตรการการเงินการคลังอย่างต่อเนื่อง และธนาคารกลางทั่วโลกยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง

          2. เศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศไทย (ไทย

                  2.1 ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่ำลงจากการประเมินครั้งก่อนเนื่องจากได้รับผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ อย่างไรก็ตาม มาตรการควบคุมโควิด-19 ที่ไม่เข้มงวดเท่าปีก่อนหน้า การมีแรงกระตุ้นจากมาตรการภาครัฐที่ออกมาเพิ่มเติมและการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 และจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนการระบาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นภายหลังการกระจายวัคซีนโควิด-19 อย่างทั่วถึง

                  2.2 มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2564 และ 2565 มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 10.0 และ 6.3 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกบริการยังคงหดตัวและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า เนื่องจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวของไทยล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ ความล่าช้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบางประเทศ และการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นในการเดินทาง

                  2.3 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2564 มีแนวโน้มเกินดุลลดลงมาก จากการนำเข้าที่ขยายตัวสูง โดยคาดว่าจะเกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การเกินดุลบัญชีดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยชั่วคราว เช่น ต้นทุนขนส่งสินค้าที่แพงขึ้นจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดจะปรับสูงขึ้นเป็น 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 ตามการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

                  2.4 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ดีกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากการส่งเสริมการขายรถยนต์ในช่วงปลายปีและผลจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐที่ออกมาเพิ่มเติมภายหลังการระบาดระลอกใหม่ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของรายได้ของแรงงานยังไม่ทั่วถึง จึงคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนในระยะข้างหน้าจะขยายตัวในอัตราไม่สูงนักตามฐานะทางการเงินของครัวเรือนที่ยังเปราะบางและตลาดแรงงานที่ยังอ่อนแอ ขณะที่การลงทุนในลักษณะโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะโครงการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีความชัดเจนมากขึ้น

                  2.5 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2564 และ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 และ 1.0 ตามลำดับ ขณะที่ประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใกล้เคียงเดิม โดยปี 2564 ที่ร้อยละ 0.3 และปี 2565 ที่ร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับสู่ขอบล่างของกรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ

          3. ความเสี่ยงเศรษฐกิจสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย คือ การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติคิดเป็นร้อยละ 11 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวมีสัดส่วนการจ้างงานร้อยละ 20 ของการจ้างงานทั้งหมด ซึ่ง กนง. ได้วิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้มของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า 3 กรณี ได้แก่ (1) กรณีฐาน (2) กรณีเลวร้าย คือ เกิดการระบาดของโควิด-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 และ (3) กรณีเลวร้ายที่สุด คือ เกิดการกลายพันธุ์รุนแรงของโควิด-19 และประเมินว่า ในปี 2564 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจอยู่ในช่วง 1 แสนคนถึง 3 ล้านคน ส่งผลให้ประมาณการเศรษฐกิจไทยอยู่ระหว่างหดตัวร้อยละ 1.7 ถึงขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 

          4. เสถียรภาพระบบการเงินไทย ยังมีเสถียรภาพแต่เปราะบางมากขึ้นจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ซึ่งกระทบต่อฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังอ่อนแอ ในระยะต่อไปการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่จะทำให้การฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจแตกต่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว จึงต้องติดตามฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจอย่างใกล้ชิด

          5. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ในการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 และ 24 มีนาคม 2564 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมยังขยายตัวต่อเนื่องแม้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในช่วงต้นปี 2564 ส่วนอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายทั่วไปจะกลับเข้าสู่เป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และอยู่ใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ระดับต่ำอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน จึงควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6733

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!