หมวดหมู่: อุตสาหกรรม

1aaa1 MNarin


บอร์ด กนอ.ลงพื้นที่นิคมฯมาบตาพุด-ท่าเรือฯมาบตาพุด กำชับมาตรการความปลอดภัย เตรียมความพร้อมรับมือแล้งหน้า!

     คณะกรรมการ กนอ. ลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ย้ำทุกฝ่ายเฝ้าระวัง ความปลอดภัยจากการประกอบกิจการโดยเฉพาะท่อส่งสินค้าเหลว สั่งจัดทำแผนป้องกันและรับมือภัยแล้งในปีหน้า พร้อมเร่งขับเคลื่อนงานตามโครงการเป้าหมายของรัฐบาลให้เป็นไปตามเป้า!

      นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการ กนอ. พร้อมด้วยคณะกรรมการ กนอ. ลงพื้น ที่ตรวจเยี่ยมนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ โดยนายนรินทร์ฯ ระบุว่า การมาตรวจเยี่ยมในครั้งนี้เพื่อตรวจเยี่ยมและดูการ บริหารจัดการภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรืออุตสาหกรรมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยเฉพาะเรื่องการกำกับ ดูแลระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ระบบคมนาคมขนส่ง ทางรถไฟ ที่สามารถเชื่อมโยงจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สู่กรุงเทพฯ และเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศ ระบบการขนส่งทางท่อ ที่มีการวางอย่างเป็นระบบซึ่งผู้ประกอบการ สามารถใช้บริการร่วมกันได้อย่างลงตัวบนพื้นฐานของความปลอดภัย ระบบส่งน้ำ 

       ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดคอม เพล็กซ์ ใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย หนองปลาไหล และคลองใหญ่ ความจุ 275 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี โดยที่ ผู้ประกอบการต้องการใช้น้ำปีละ 145-150 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ซึ่งมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการใช้ในแต่ละนิคมอุตสาหกรรม ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่สามารถรองรับการบำบัดน้ำเสียภายในนิคมอุตสาหกรรมได้ประมาณ 4,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน  ซึ่งปัจจุบันมีการบำบัดน้ำเสียผ่านระบบน้ำเสียของนิคมฯประมาณ 2,500 ลูกบาศก์เมตร/วัน นอกจากนี้ ยังได้นำน้ำเสียที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแล้ว  มาเข้ากระบวนการบำบัด (Waste Water Reverse Osmosis : WWRO) และนำน้ำที่ได้กลับมาใช้ใหม่ ร ะ บ บ ไ ฟ ฟ้ า นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สามารถรองรับกำลังการผลิตได้ 1,200 เมกะวัตต์ แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้กระแสไฟฟ้าในกระบวนการผลิตที่รับจากนิคมฯ ประมาณ 245 เมกะวัตต์ ดังนั้น จึงเป็นการการันตีได้ว่าระบบสาธารณูปโภคภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีความพร้อมรองรับการประกอบกิจการ อุตสาหกรรมในทุกด้านด้วยศักยภาพที่ได้มาตรฐานสากล

       “การประกอบกิจการในนิคมฯมาบตาพุด เน้นเรื่องความปลอดภัยจากการประกอบกิจการที่มีการเฝ้าระวังตามมาตรการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM) ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกัน อุบัติเหตุและการบาดเจ็บอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตที่มีการใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรงมาโดยตลอดอยู่แล้ว แต่เพื่อ เป็นการป้องกัน และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ จึงได้กำชับให้นิคมฯมาบตาพุด สอดส่องดูแลความปลอดภัยของ ระบบต่างๆ โดยเฉพาะระบบท่อส่งสินค้าเหลว โดยขอให้กำกับดูแลโรงงานที่มีพื้นที่ติดกับถนนให้เฝ้าระวังอุบัติเหตุที่อาจ เกิดขึ้น โดยให้สำรวจเส้นทางกับฝ่ายจราจรว่ามีจุดเสี่ยงหรือจุดอันตรายบริเวณใดบ้าง ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะเกิดได้ให้ทางนิคมฯไปหามาตรการเพื่อลดผลกระทบ โดยขอให้ประเมิน สถานการณ์น้ำต้นทุน คาดการณ์สถานการณ์ เพื่อวางแนวทางการบริหารจัดการน้ำและเตรียมแผนรับมือต่อไป” นายนรินทร์ กัลยาณมิตร กล่าว

      ด้านนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวเสริมว่า นอกจากดูการบริหารจัดการงานภายในของนิคมอุตสาหกรรมแล้ว คณะกรรมการ กนอ.ยังได้ติดตามความก้าวหน้าของโครงการที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่เขตพัฒนา ภาคตะวันออก (อีอีซี) ทั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค (Smart Park) หลังจากคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้มีการลงทุนในโครงการเมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศเขตนิคมอุตสาหกรรม และโครงการ พัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ที่อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด (Detail design) เพื่อเตรียมการ ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกำกับดูแลฯ ที่ได้ประชุมติดตามงานอยู่เป็นระยะ

       ขณะเดียวกัน ได้ขอให้ทางท่าเรือฯเพิ่มมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (Maptaphut Industrial Terminal : MIT) มากขึ้น โดยชี้ให้เห็นถึงศักยภาพการเป็นศูนย์กลางของการขนส่งทางเรือที่ สามารถเชื่อมโยงกับให้บริการในด้านต่าง ๆ แบบครบวงจร ทั้งการบริการขนสินค้า โดยมีท่าเทียบเรือสำหรับเรือสินค้าสำ หรับส่งออกหรือนำเข้าสินค้าที่มีปริมาณมาก และมีสำนักงานที่ทำการของหน่วยงานราชการเพื่อความสะดวกในการติดต่อด้านเอกสารต่างๆ เช่น สำนักงานศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสำนักงานกักกันโรค เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบัน ท่าเรือ อุตสาหกรรมมาบตาพุดมีท่าเทียบเรือให้บริการ 12 ท่า แบ่งเป็นท่าเทียบเรือสาธารณะ (Public Berths) 3 ท่า และท่าเทียบ เรือเฉพาะกิจ 9 ท่า มีปริมาณสินค้าผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ประมาณ 42 ล้านตัน.

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!