หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV5 copy copy


การนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (ฉบับที่ 2)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (ฉบับที่ 2) และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดส่งรายงานผลการดำเนินงานของไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติฯ ต่อคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมานต่อไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
         สาระสำคัญของเรื่อง
         รายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยฯ (ฉบับที่ 2) เป็นการนำเสนอข้อมูลภาพรวมการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ของประเทศไทยตามแนวคำถามล่วงหน้าที่ได้รับจากคณะกรรมการสหประชาชาติฯ สรุปได้ดังนี้
         ด้านนโยบาย รายงานผลดำเนินงานของประเทศไทยฯ ได้สะท้อนข้อมูลการประกาศวาระแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยได้กำหนดให้การป้องกันและปราบปรามการทรมานเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญตามกรอบวาระแห่งชาติฯ นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ และคณะอนุกรรมการ 4 คณะ เพื่อเป็นกลไกระดับชาติในการป้องกัน คัดกรอง ติดตาม ตรวจสอบ ปราบปราม และเยียวยาการกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ
         ด้านกฎหมาย กล่าวถึงบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนกฎหมาย คำสั่ง และมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังได้สะท้อนพัฒนาการในการประกาศใช้กฎหมายที่เป็นประโยชน์หลายฉบับ โดยเฉพาะการจัดทำร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ....
         ด้านการปฏิบัติ นำเสนอพัฒนาการการดำเนินงานของประเทศไทยในทางปฏิบัติ โดยรัฐบาลได้บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดและยืนยันว่าไม่มีการยกเว้นความรับผิดแก่เจ้าหน้าที่ทั้งทางกฎหมายและข้อเท็จจริง รวมถึงได้ดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อที่ถูกกระทำทรมาน เหยื่อค้ามนุษย์และผู้แสวงหาที่พักพิง แก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปรับปรุงเรือนจำให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมายและเพิ่มศักยภาพแก่เจ้าหน้าที่ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงมีการรายงานความคืบหน้าของคดีเป็นรายคดีตามข้อห่วงกังวลของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อท้าทายในทางปฏิบัติที่สำคัญ คือการที่ประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดให้ “การกระทำทรมาน” เป็นความผิดเฉพาะ จึงทำให้หน่วยงานต่างๆ ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลและสถิติที่เกี่ยวข้องสำหรับกรณีการกระทำทรมาน เพราะในทางปฏิบัติทุกหน่วยงานจะจัดเก็บข้อมูลและสถิติตามฐานความผิดที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น และมีการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ “การกระทำทรมาน” ตามอนุสัญญาฯ ให้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ยังคงเป็นเรื่องสำคัญและมีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
         ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (ฉบับที่ 2) เพื่อมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานของไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติฯ ต่อคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมานต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 4 สิงหาคม 2563
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

COREHOON

AO8123

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

Forex Exness1

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!