หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 13-8-2020ASP
 MARKET  TALK
กลยุทธ์การลงทุน
ราคาสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกปรับสูงขึ้น หลังมีพัฒนาการเชิงบวกเรื่องวัคซีน อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าการกระจายตัวของวัคซีนยังไม่เปลี่ยนไปจากกำหนดเดิม ส่วนกำไร 2Q63 ประกาศออกมาแล้ว 66.5% ของ Market Cap หดตัว 41% YoY แต่โต 28.7% QoQ นับว่าดีกว่าคาด พอร์ตจำลอง ให้ขายทำกำไร STA แล้วลงทุนใน BEM หุ้น Top Pick เลือก BEM, RJH และ TKN
ประกาศกำไร 2Q63 ออกมาแล้ว 66.5% พบว่า ลดลง 41% YoY
ข่าวพัฒนการเชิงบวกเรื่องวัคซีน หนุนให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้น ขณะที่ทองคำถูกขายทำกำไรอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องวัคซีน ยังต้องติดตามต่อเนื่อง เพราะหากพิจารณาในเชิงของเป้าหมายสุดท้ายคือการกระจายตัวของวัคซีนไปสู่ประชากรโลกอย่างกว้างขวาง ยังไม่น่าจะเร็วไปกว่ากลางปี 2564 ซึ่งเป็นสมมุติฐานเดิม สำหรับการประกาศผลประกอบการงวด 2Q63 ของบริษัทจดทะเบียนในบ้านเรา จนถึงเช้านี้ มีประกาศออกมาแล้ว 248 บริษัทคิดเป็น 66.5% Market Cap มีกำไรสุทธิรวม 9.84 หมื่นล้านบาท ลดลง 41% YoY และ เพิ่มขึ้น 28.7% QoQ นับเป็นผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามยังน่าจะเห็นการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิและ EPS งวดปี 2563 ลง โดยตัวเลขการปรับประมาณการแบบ Real Time ของฝ่ายวิจัยจนถึงปัจจุบันพบว่า EPS ปี 2563 ปรับลดลงจาก 64 บาท มาอยู่ที่ 60.65 บาท/หุ้น และคาดว่าจะยังเห็นการปรับลดลงได้อีกบางส่วน โดยตัวเลขสุดท้ายน่าจะยุติได้ก่อนที่นำเสนอ Invest+ (รายงานกลยุทธ์รายเดือน) ฉบับปลายเดือนนี้ แนะนำให้ปรับพอร์ต โดยขายทำกำไร STA และเข้าลงทุนใน BEM ด้วยน้ำหนักเท่ากัน หุ้น Top Pick เลือก BEM, RJH และ TKN
 
Valuation หุ้นที่อยู่ใน Theme การลงทุนของฝ่ายวิจัย
 
ที่มา:  ASPS Research
พัฒนาการเชิงบวก เรื่อง Vaccine  หนุนราคาหุ้น แต่ระยะเวลาไม่ได้สั้นลงจากเดิม
เงินไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยสะท้อนจาก  “ราคาทองคำโลก”  หลังจากขึ้นไปทำจุดสูงสุด บริเวณ 2074 เหรียญฯ มื่อวันที่ 7 ส.ค. และปรับฐานแรงหลุด 2000 ล่าสุด แกว่งตัวบริเวณ 1930 เหรียญฯ  โดยเห็นเงินทุนการเคลื่อนย้ายมาเข้าสินทรัพย์เสี่ยง คือ ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน  โดยปัจจัยหนุนหลักมาจาก  1.) การผ่อนคลายให้เกิดกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วโลก :  เริ่มตั้งแต่ตลอดสัปดาห์ หลักๆ คือ  สหภาพยุโรป: ได้ประกาศอนุญาตให้ 11 ประเทศ ออสเตรเลีย, แคนาดา, จอร์เจีย ญี่ปุ่น, นิวซีแลนด์, รวันดา, เกาหลีใต้, ตูนิเซีย ,อุรุกวัย และไทย    
2.) ประเด็นสำคัญที่มีน้ำหนัก คือ “รายงานความสำเร็จ Vaccine Covid-19 ของประเทศรัสเซีย  หลังจากเย็นวันอังคาร 11 ส.ค. ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศว่ากระทรวงสาธารณสุขรัสเซีย Approve วัคซีน COVID-19 ทำให้เป็นประเทศแรกของโลกที่จดทะเบียนวัคซีนและเริ่มใช้ (ก่อนหน้าประเทศจีนได้ประกาศ Approve เช่นกัน แต่เป็นการใช้ในวงแคบ คือ เฉพาะ กองทัพจีน)  เทียบกับ ประเทศอื่นๆ อาทิ สหรัฐ, จีน, อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ  พบว่า การพัฒนามากที่สุด คือยังอยู่ในเฟส 3 (ดังตาราง)
Update ความคืบหน้า Vaccine Covid-19
 
ที่มา: ASPS รวบรวม ล่าสุด 12 ส.ค.2563
ประเด็น พัฒนาการ Vaccine  ASPS ตั้งข้อสังเกตุว่าทุกๆครั้งๆ จะเป็นกระแสเชิง + หนุนตลาดหุ้นโลกในระยะสั้น และเชื่อว่ากระแสจะยังหนุนต่อไปอีกระยะหนึ่ง        อย่างไรก็ตามหากยึดตามสากลของโลก  เชื่อว่า Timeline พัฒนา Vaccine ยังคงอยู่ในกรอบเดิม หรือไม่ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมที่มีการคาดกันก่อนหน้า  คือ เร็วสุด คือ ต้นปี 2563 ถึงจะผ่านขั้นตอน  Approve และกว่า Vaccine จะผลิตออกมาใช้จริงคือ 1Q63-2Q64 เป็นอย่างเร็ว  (หากอ้างอิง  มหาวิทยาลัย Oxford  มีการทดลองฉีดแรก เดือน เม.ย.63  ปัจจุบันอยู่ในช่วงทดลอง เมื่อฉีดวัคซีนจะอยู่ในร่างกาย เกิน 6 เดือนหรือ ไม่??  ครบ 6 เดือน คือ ต.ค.63)  
ส่วนปลายสัปดาห์นี้ วันเสาร์ ที่15 ส.ค. ตลาดหุ้นโลกให้น้ำหนักการทบทวน(Review) ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน   ASPS ให้น้ำหนักฝั่งสหรัฐ : จะกดดันจีนเพิ่มเติมหรือไม่ ?? อย่างไร ?? ( หรือกลับมาขึ้นภาษีนำเข้ารอบ 4 ??) หลังจากข้อมูลล่าสุด   จีนนำเข้าสินค้าจากสหรัฐน้อยกว่าสัญญาที่ตกลงไว้  ส่วนฝั่งจีน  : อ้างอิงจาก Bloomberg เช้านี้ เผยว่าจะนำประเด็นเรื่องสหรัฐ มีการ Ban  “ WeChat” และ “Tik Tok” ขึ้นมาเจรจา
เชื่อว่าเร็วๆนี้  จะเห็นทีมเศรษฐกิจชุดใหม่.... เร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรฐกิจทุกภาคส่วน
หลังจากเมื่อวานนี้  ทีมครม.ชุดใหม่ได้เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว  และสัปดาห์นี้จากนสพ. กรุงเทพธุรกิจเผยว่า นายปรีดี ดาวฉาย รัฐมนตรีคลังคนใหม่ เชิญผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานกระทรวงการคลัง เพื่อเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง  2H63   ดังที่ ASPS เคยนำเสนอว่าจะเร่งผลักดันทุกภาคส่วนโดยหลักๆเชื่อว่า คือ
    เม็ดเงินเศรษฐกิจของรัฐที่ยังคงค้างอยู่: วงเงินที่ยังไม่ได้อนุมัติ  และเบิกจ่ายในช่วงก่อนหน้าจาก พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท จากที่ ASPS รวบรวมปัจจุบันยังเหลือวงเงินที่ยังไม่ได้อนุมัติอีกราว 6.12 แสนล้านบาท (เบิกจ่ายและอนุมัติไปแล้ว 3.88 แสนล้านบาท)   ขณะที่ฝั่งการจัดหาเงินทุน (Funding) ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ปัจจุบันมีการกู้เงินไปแล้วราว 3.97 หมื่นล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงวงเงินที่อนุมัติแล้ว ดังนั้นจึงประเมินว่าหากรัฐมีโอกาสกู้เงินเพิ่มอีก หากมีการอนุมัติมาตรการอื่นๆเพิ่มเติม โดยปัจจุบันหนี้สาธารณะของไทยคิดเป็น 44.76% ของ GDP ยังต่ำกว่าเพดานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ของ GDP และหนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศคิดเป็น 1.17% ต่อหนี้สาธารณะรวม ซึ่งยังไม่เกินเพดานที่ 10% เช่นกัน
    มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ที่ภาคเอกชนเคยเสนอ : คาดเป็นมาตรการที่มีการพูดถึงก่อนหน้า โดยเชื่อว่าจะเน้นไปที่การกระตุ้นภาคการบริโภค, การท่องเที่ยว, ภาคอสังหาริมทรัพย์, ภาคยานยนต์, การพักชำระหนี้ และตลาดทุน  เป็นต้น     ดังตาราง
    คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ที่อาจจะออกมา 2H63
 
ที่มา: ASPS รวบรวม
ส่วนทางด้าน
โดยรวมจากความคาดหวังมาตรการต่างๆ ข้างต้น ASPS เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นในหลายได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มค้าปลีก (CPALL, SPVI), กลุ่มท่องเที่ยว (MINT, ERW, CENTEL) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (AP, SC, LH) กลุ่มยานยนต์ (AH, SAT, STANLY) เป็นต้
แนะหุ้นเล็กกำไรเด็ด หุ้นใหญ่กำไรฟื้น ชอบ RJH, TKN, BEM
เช้าวันนี้ทาง MSCI ไม่ได้มี Rebalance หรือปรับหุ้นไทยเข้า – ออกในดัชนี  (จะมีการ Review อีกครั้งในเช้าวันที่ 11 พ.ย. 63) ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นยังถูกกดดันจากการรายงานผลประกอบการงวด 2Q63 ที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งล่าสุดมีการรายงานมาแล้ว 248 บริษัท (คิดเป็นสัดส่วน 66.5% ของมูลค่าตลาด) มีกำไรสุทธิรวมอยู่ที่  9.84 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.7QoQ และลดลง 41%YoY  รวมถึงมีหุ้นที่ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลออกมาเพียง 30 บริษัทเท่านั้น เทียบกับปีที่แล้ว 85 บริษัท
ตลาดหุ้นไทยที่ถูกเร่งปรับประมาณการกำไรลง รวมถึงกำไรที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนมาก โดยล่าสุดฝ่ายวิจัยประเมินกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2563 แบบ Real Time อยู่ที่ 6.56 แสนล้านบาท คิดเป็น EPS63F เหลือเพียง 60.65 บาท/หุ้น (ลดลง 36.6% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 95.7 บาท/หุ้น และยังมีโอกาสปรับลงอีกหลังบริษัทจดทะเบียนรายงานงบเสร็จสิ้น) เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Spotlight ยังไม่ถูกฉายลงมาที่ตลาดหุ้นไทย
อย่างไรก็ตามยังมีบริษัทจดทะเบียนหลายบริษัทที่ทำผลประกอบการงวด 2Q63 ออกมา เติบโตได้ดีทั้ง QoQ และ YoY คือ THCOM, NWR, TU, TOP, AP, DELTA, SINGER, DCC, GPSC, TASCO และ SC รวมถึงยังมีหุ้นที่ถูกปรับประมาณการกำไรขึ้นนับตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. คือ THCOM, SPVI, DCC, RS, QH และ TKN เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุนฝ่ายวิจัยฯแบ่งหุ้นเด่นออกเป็น 2 ธีม ดังนี้
1.    หุ้นเล็กผลประกอบการ 2Q63 เด่น และมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลต่อเนื่อง รวมเป็นหุ้นที่มีสัดส่วนการถือครองของต่างชาติน้อย แนะนำ TKN, RJH, INSET และ MCS
2.    หุ้นขนาดใหญ่กำไรฟื้นตัวได้ดีต่อจากนี้ แนะนำ BEM, CPALL และ CPF
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!