หมวดหมู่: พาณิชย์

1aaGIน้อยหน่าปากช่อง


วีรศักดิ์ ผลักดัน 'น้อยหน่าปากช่อง' ขึ้นทะเบียน GI คิวต่อไปเล็ง 'ทุเรียนปากช่อง'

      วีรศักดิ์”ลงพื้นที่ตรวจสอบแหล่งผลิต 'น้อยหน่าปากช่อง'ผลักดันขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ เพื่อช่วยเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เผยยังได้เล็ง ‘ทุเรียนปากช่อง’ให้ขึ้นทะเบียนด้วย พร้อมมอบตรา GI ให้กับ’มะขามเทศเพชรโนนไทย’อย่างเป็นทางการ

     นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่พร้อมด้วยนายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา และคณะ เยี่ยมชมแหล่งเพาะปลูกและแหล่งผลิต’น้อยหน่าปากช่อง’ณ สวนน้อยหน่าเพชรปากช่อง บ้านหนองตาแก้ว ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อหารือถึงแนวทางการส่งเสริมและผลักดันให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพราะเป็นผลไม้ที่มีโอกาสได้รับการขึ้นทะเบียน GI เพราะถือเป็นของดี ของเด่นของชุมชน และมีอัตลักษณ์โดดเด่นกว่าน้อยหน่าจากที่อื่น โดยหากได้รับการขึ้นทะเบียน GI แล้ว คาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

        ทั้งนี้ นอกจากน้อยหน่าปากช่องแล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังได้ร่วมหารือเบื้องต้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ถึงความเป็นไปได้ในการส่งเสริมสินค้าใหม่ๆ เช่น ทุเรียนปากช่อง เพื่อผลักดันให้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ในอนาคตด้วย

     สำหรับ น้อยหน่าปากช่อง ปลูกมากในพื้นที่อำเภอปากช่อง ซึ่งมีสภาพดินแดง เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกน้อยหน่ามากที่สุด มีฤดูกาลผลิตในช่วง พ.ค.-ธ.ค.ของทุกปี แบ่งออกเป็น 3  สายพันธุ์ คือ 1.สายพันธุ์น้อยหน่าฝ้าย มีลักษณะตาแคบ ร่องตาลึก รสหวาน เนื้อสีขาวละเอียดครีม กลิ่นหอม 2.สายพันธุ์น้อยหน่าหนัง มีลักษณะตากว้าง ร่องตาตื้น เนื้อสีขาวละเอียดเหนียว เปลือกร่อนได้ง่าย 3.สายพันธุ์น้อยหน่าลูกผสม มีลักษณะผลใหญ่ รูปหัวใจ ผิวค่อนข้างเรียบ ร่องตาตื้น เปลือกบางลอกจากเนื้อได้ง่าย เนื้อเหนียว กลิ่นหอม รสชาติหวาน

       นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า ยังได้ใช้โอกาสนี้ เดินทางไปยังศาลาประชาคมบ้านดอนสระจันทร์ ตำบลถนนโพธิ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อมอบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน GI สำหรับมะขามเทศเพชรโนนไทยของจังหวัดนครราชสีมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไป เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2563 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้รับมอบหนังสือรับรอง ทำให้ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีสินค้า GI ที่ขึ้นทะเบียนมากที่สุดในประเทศไทยเทียบเท่าจังหวัดเชียงราย ถึง 6 รายการ

    อย่างไรก็ตาม เพื่อช่วยส่งเสริมช่องทางการตลาดให้กับสินค้า GI ทั้งการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายภายในประเทศ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการประชาสัมพันธ์ และกระตุ้นการบริโภคสินค้า GI แล้ว เพราะสินค้า GI เป็นสินค้าท้องถิ่น ที่มีคุณภาพ เป็นของดี ของหายาก ส่วนในตลาดต่างประเทศ ก็ให้เร่งส่งเสริมเช่นเดียวกัน และต้องทำควบคู่กับการผลักดันการจดทะเบียนคุ้มครอง GI ในต่างประเทศ

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!