หมวดหมู่: สภาอุตสาหกรรม

1aaaQสภาอตสาหกรรม


ดัชนี ความเชื่อมั่นฯ พฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น, ภาพรวมเศรษฐกิจขยายตัว การส่งออกดีขึ้น ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เน้นลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม

    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนพฤษภาคม 2561 จำนวน 1,015 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรม ขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร้อยละ 33.4, 38.0, 28.6 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 39.3, 17.3, 15.0, 17.6 และ 10.8 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 80.0 และ 20.0 ตามลำดับ

      โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 90.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 89.1 ในเดือนเมษายน ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

      จากการสำรวจ พบว่า ในเดือนพฤษภาคม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าภาพรวมของเศรษฐกิจภายในประเทศ ยังขยายตัวต่อเนื่อง และส่งผลดีต่อภาคการผลิต รวมทั้งการส่งออกได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า สะท้อนจากคำสั่งซื้อโดยรวมและยอดขายโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ มีแผนการขยายการลงทุนเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

      อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามจากการที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม ขณะเดียวกันผู้ประกอบการส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาท ทำให้สูญเสียรายได้จากการส่งออก

       ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ระดับ 101.6 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากระดับ 102.2 ในเดือนเมษายน เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการชะลอตัวของกำลังซื้อโดยเฉพาะในระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีฯ ยังมีค่าเกิน 100 สะท้อนว่าผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ดี

      ดัชนี ความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนพฤษภาคม 2561 จากการสำรวจ จุมภาพันธ์พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 5)

      อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 75.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 72.7 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

      สำหรับ อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก,อุตสาหกรรมเซรามิก, อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 93.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 94.0 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

      อุตสาหกรรมขนาดกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 90.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 89.2 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

               สำหรับ อุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ, อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ เป็นต้น

               ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 107.6 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

               อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 107.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 106.4 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

               สำหรับ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก,อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี,อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น

               ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 103.6 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

               ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนพฤษภาคม 2561 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคเหนือ ปรับตัวลดลงจากเดือนเมษายน โดยมีรายละเอียด มีดังนี้ (ตารางที่ 6)

               ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 89.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 88.9 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

               อุตสาหกรรมยานยนต์ (รถยนต์นั่งรถกระบะ รถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นจากตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง)

               อุตสาหกรรมพลาสติก (บรรจุภัณฑ์พลาสติก ฟิล์มพลาสติก และขวดพลาสติก มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐฯ)

               อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด มีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เครื่องหอมและสปา มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและตลาด CLMV เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพเป็นที่ต้องการ)

อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

               อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (สินค้าบำรุงสุขภาพ วิตามินเสริมอาหาร มียอดขายในประเทศลดลง ขณะที่การผลิตลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการมีสต๊อกสินค้าในปริมาณสูง)

               ดัชนี ความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ105.4 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

               ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 82.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 84.9 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

               อุตสาหกรรมสมุนไพร (ยาสมุนไพร เครื่องดื่มสมุนไพร มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อสมุนไพรสำหรับทำสปาจากกลุ่มประเทศ CLMV ลดลง)

               หัตถอุตสาหกรรม (ผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าพรีเมี่ยมและของที่ระลึก งานหัตถกรรมและดอกไม้ประดิษฐ์ มีคำสั่งซื้อทั้งในประเทศ และจากประเทศจีนลดลง)

               อุตสาหกรรมยา (ผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค ยาแผนโบราณ ยาสามัญประจำบ้าน มีคำสั่งซื้อในประเทศ และจากกลุ่มประเทศ CLMV ลดลง)

               อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

               อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (หลังคาเมทัลชีทและกระเบื้องลอนคู่ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นตามความต้องการในการซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน และการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์)

               ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 89.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 89.5 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 86.9ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.1 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

               อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

               อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ จีน และ CLMV อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ Hard Disk Drive มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดจีนและฮ่องกง)

               อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชุดนักเรียน มีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในช่วงเปิดภาคเรียน ด้านการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้ากีฬาและชุดชั้นในมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐ อาเซียน และยุโรป)

               อุตสาหกรรมเซรามิก (กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น จากความต้องการใช้ในธุรกิจก่อสร้าง ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากจีน และตลาด CLMV)

               อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (เครื่องจักรกลการเกษตร รถไถนา เครื่องเกี่ยวนวดข้าว มียอดขายในประเทศลดลง)

               ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.6 ปรับตัวลดลงจากระดับ 99.1 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

               ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 106.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 105.4 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

               อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

               อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทอะไหล่และล้อยาง อุปกรณ์เสริม มีคำสั่งซื้อจากตลาดเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น)

               อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (แผงโซลาร์เซลล์มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากลูกค้าในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมหันมาใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น)

               อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (เครื่องปรับอากาศ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น คอมเพรสเซอร์มีคำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และจีน)

               อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง (ผลิตภัณฑ์หนังเทียมพีวีซี ผลิตภัณฑ์หนังฟอก มียอดคำสั่งซื้อในประเทศลดลง ชิ้นส่วนหนังเพื่อใช้ผลิตรองเท้าและกระเป๋า มีการส่งออกเครื่องไปยังตลาดเอเชียลดลง)

         ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 107.5 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

       ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 81.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 80.0 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

      อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

      อุตสาหกรรมอาหาร (อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารทะเลแช่แข็ง มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย)

        ผลิตภัณฑ์ยาง (ผลิตภัณฑ์ยางและยางแผ่นรมควัน ส่งออกไปยังประเทศจีนและสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ยางรถยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ)

       อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มขวดมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่ปาล์มดิบมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปผลิตพลังงานทดแทน)

 

อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

       อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสต๊อกในปริมาณสูง ขณะที่ฝนตกเป็นอุปสรรคในการผลิตสินค้า)

      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 99.0 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

 

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก

       ดัชนี ความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขายในเดือนพฤษภาคม 2561 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 7)

      อยู่ที่ระดับ 86.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 85.8 ในเดือนเมษายนองค์ประกอบ ดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

      สำหรับ อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมก๊าซ, อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์

       ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.0 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

      กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 104.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 103.3 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

        สำหรับ อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ, ผลิตภัณฑ์ยาง, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ

       ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.9 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

       เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2561 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมัน ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน สถานการณ์การเมืองในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ

     ควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ สามารถนำเสนอแผนการลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและการพัฒนานวัตกรรมการผลิต ต่อสถาบันการเงิน โดยจัดทำเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และสถาบันการเงิน

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!