หมวดหมู่: มติ ครม.

1aaaD


แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการงานด้านการทำงานของคนต่างด้าว

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการงานด้านการทำงานของคนต่างด้าวโดยการจ้างเหมาเอกชนดำเนินการให้บริการรับคำขออนุญาตทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (e-WorkPermitOS) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ รง. รับความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          รง. รายงานว่า

          1. จำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานและแจ้งการทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว .. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมระหว่างปี .. 2560 – 2562 รวมทั้งหมด 2,935,231 ราย ดังนี้

 

ปี ..

จำนวนคนต่างด้าว (ราย)

2560

774,065

2561

1,077,802

2562

1,083,364

รวม

2,935,231

 

          2. กรมการจัดหางาน รง. มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตให้กับคนต่างด้าวเพื่อประกอบอาชีพ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

                 2.1 นายจ้างยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ด้วยตัวเอง

                 2.2 เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดพิจารณาคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวและอนุมัติคำขอใบอนุญาตทำงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

                 2.3 นายจ้างพาคนต่างด้าวไปตรวจลงตราวีซ่าและรับใบอนุญาตทำงาน

                 2.4 นายจ้างแจ้งการเข้าทำงานและแจ้งออกจากงานของคนต่างด้าว

          3. กระบวนการในการให้บริการการทำงานของคนต่างด้าวในปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ เช่น ผู้รับบริการยังต้องเข้ารับบริการด้วยตัวเองเฉพาะในเวลาราชการ การบริการโดยการยื่นแบบคำขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดกระบวนการเป็นเวลา 3 วัน (ไม่รวมเวลาที่ผู้ใช้บริการต้องแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมในกรณีที่เอกสารไม่ครบถ้วน) รง. (กรมการจัดหางาน) จึงได้มีแนวคิดการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการด้านการทำงานของคนต่างด้าว โดยจ้างเหมาเอกชนดำเนินการให้บริการรับคำขออนุญาตทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (e-WorkPermitOS) สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

อำนาจหน้าที่

 

1. หน้าที่ของเอกชน : การจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ วัสดุ และบุคลากรในการให้บริการ ดังนี้

     1.1 จัดหาที่ตั้งศูนย์ให้บริการใบอนุญาตทำงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

     1.2 นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชันในอุปกรณ์โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) 

     1.3 จัดหาและพัฒนาระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย

          (1) ระบบสารสนเทศที่ให้บริการทั่วไป เช่น ระบบนัดหมาย ระบบติดตามผลการอนุญาต ระบบชำระคืนค่าธรรมเนียม ออกใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

          (2) ระบบสารสนเทศส่วนสนับสนุนการปฏิบัติงาน เช่น ระบบติดตามงาน ระบบตรวจสอบยืนยันหรือรับรองตัวบุคคล เป็นต้น

          (3) ระบบสารสนเทศที่ใช้งานโดยเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน เช่น ระบบนายทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบฐานข้อมูลการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว เป็นต้น

2. หน้าที่ของรัฐ : กำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติ และควบคุมการดำเนินงานของเอกชน โดย นายทะเบียนควบคุมระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการ เป็นผู้อนุญาต/ไม่อนุญาตให้มีการปฏิบัติงานของเอกชน สามารถสังเกตการณ์การทำงานของเอกชนแบบออนไลน์ (On-line) ในระหว่างปฏิบัติงาน สามารถเข้าถึงหรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับระบบที่เอกชนกำลังใช้ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา

ระยะเวลาดำเนินการ

 

10 ปี หรือกำหนดตามจำนวนใบอนุญาตทำงานที่ออกให้กับคนต่างด้าว จำนวน 15 ล้านใบอนุญาต แล้วแต่ว่ากรณีใดถึงก่อนเป็นเกณฑ์กำหนดระยะเวลาสัญญา

แหล่งงบประมาณในการจ้างเหมาเอกชน

 

1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว .. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) อนุญาตให้นำไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินจากเงินกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

2. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บที่ผู้รับบริการต้องชำระเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำงานของคนต่างด้าว .. 2558

 

          4. การปรับปรุงกระบวนงานและรูปแบบการให้บริการงานด้านการทำงานของคนต่างด้าว โดยการจ้างเหมาเอกชนดำเนินการ จะส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบการบริหารจัดการและการบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความทันสมัย เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ เกิดการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ และเกิดการให้บริการในรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยี ดังนี้

 

หัวข้อ

 

การให้บริการออกใบอนุญาตทำงานระบบปัจจุบัน

 

การให้บริการออกใบอนุญาตทำงานแบบจ้างเหมาเอกชน (Outsource)

1. สถานที่ให้บริการ

 

สำนักงานจัดหางานจังหวัด 87 ศูนย์

 

ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ 45 ศูนย์

2. เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ใช้ Mobile Application ในขั้นตอนการแจ้งเข้าแจ้งออกจากงานของคนต่างด้าว

 

ใช้ Mobile Application ในทุกระบบการอนุญาต

3. ฐานข้อมูล

 

มีฐานข้อมูลต่างด้าวหลายฐาน

 

มีฐานข้อมูลคนต่างด้าวฐานเดียว

4. การตรวจสอบบุคคล

 

- ข้อมูลภาพใบหน้าคน

- ข้อมูลเลขบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มี

สัญชาติไทย

 

- ข้อมูลชีวมาตร (Biometrics Data) ได้แก่ ภาพใบหน้าและภาพม่านตา

- การพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลแบบ 1 : 1 และการระบุตัวบุคคล แบบ 1 : N*

5. ใบอนุญาตทำงาน

 

4 รูปแบบ ได้แก่ บัตรพลาสติกแบบดิจิทัล

แบบเล่ม และแบบกระดาษ

 

2 รูปแบบ ได้แก่ บัตรพลาสติก และแบบดิจิทัล

มี QR-Code และ Barcode

6. การเชื่อมโยงข้อมูล

 

ข้อมูลคนต่างด้าวไม่สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนได้กับทุกหน่วยงาน

 

หน่วยงานด้านความมั่นคงสามารถใช้ข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เช่น รง. (กรมการจัดหางาน) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เป็นต้น ได้

7. ความสะดวกในการบริการ

 

เข้ารับบริการด้วยตนเองที่สำนักงานจัดหางานเฉพาะในเวลาราชการ

 

การบริการผ่านระบบให้บริการอิเล็กทรอนิกส์

(e-Service) ตลอด 24 ชั่วโมง

8. การใช้ระบบทะเบียน

 

อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้ง

 

- เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่จะต้อง Login เพื่อมอบหมายสิทธิ์ให้ผู้รับจ้างปฏิบัติงาน

- นายทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์สามารถควบคุม กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานได้ตลอดเวลาผ่านการโต้ตอบออนไลน์

9. การใช้ลายเซ็น

 

ลายเซ็นปากกา

(ใบอนุญาตทำงานแบบเล่ม)

 

- ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างจากอัตลักษณ์ของนายทะเบียนและคนต่างด้าว

- กรณีบัตรพลาสติก ลายเซ็นของนายทะเบียนอาจลงรูปลักษณ์เหมือนลายเซ็นจากปากกา หรือซ่อนลายเซ็นไว้สามารถตรวจสอบได้

10. ความโปร่งใส

 

- ผู้ขอรับบริการตรวจสอบผ่านโทรศัพท์

สำนักงานจัดหางานโดยตรง

- การตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ

 

สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนย้อนกลับได้ ผ่านระบบฐานข้อมูลที่บันทึกเก็บไว้

11. ระบบเอกสาร

 

เอกสารรูปแบบกระดาษ

 

เอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

*หมายเหตุ : การพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลแบบ 1 : 1 เป็นการตรวจพิสูจน์ยืนยันกับต้นแบบที่เคยลงทะเบียนไว้เท่านั้น และการระบุตัวบุคคล แบบ 1 : N เป็นการตรวจพิสูจน์ยืนยันกับต้นแบบที่อยู่ในระบบทั้งหมด

 

          5. แนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการงานด้านการทำงานของคนต่างด้าวฯ ยังมีความจำเป็นต้องเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้การดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างถูกต้อง รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลของแรงงานต่างด้าวได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ซึ่งจะสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐทั้งในด้านการปกครอง ความมั่นคง และสาธารณสุข

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 พฤศจิกายน 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11654

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!