หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

WHAจรพร จารกรสกล


ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำ เตรียมสยายปีกคลุมอาเซียนดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ผู้นำอันดับหนึ่งในการให้บริการโซลูชั่นครบวงจรด้าน

     โลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของไทย เผยแผนและทิศทางธุรกิจปี 2561 และอนาคต  คาดการณ์ปีนี้ทั้งกลุ่มจะมีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในบริษัทและกิจการร่วมค้าเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เตรียมทุ่มเงินลงทุน 6.6 พันล้านบาทจากแผนการลงทุน 5 ปี รวม 43,000 ล้านบาท (ระหว่างปี 2559 – 2563) ด้วยปัจจัยเอื้อจากสภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว บวกกับความน่าสนใจลงทุนของประเทศที่ดีขึ้นจากโครงการสนับสนุนของภาครัฐ อาทิ โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

       ด้วยสภาพเศรษฐกิจในประเทศ ตลอดจนระดับภูมิภาคและทั่วโลกที่ปรับตัวดีขึ้น  WHA เตรียมย้ำตำแหน่งผู้นำด้านการให้บริการโซลูชั่นครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของประเทศ ใน 4 กลุ่มธุรกิจของบริษัท ได้แก่ โลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคและพลังงาน และดิจิทัล พร้อมเล็งหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ เน้นอุตสาหกรรมบริการมูลค่าสูง และเตรียมรุกขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

      ในปี 2560 ที่ผ่านมา ธุรกิจของ WHA ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เช่น มีสัญญาเช่าพื้นที่และพื้นที่ที่ตกลงกับผู้เช่าล่วงหน้า (Pre-leased) เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 161,500 ตร.ม. ในรูปแบบโรงงาน Built-to-Suit (BTS) ที่ประกอบด้วยคลังสินค้า, ศูนย์กระจายสินค้า และโรงงาน รวมถึงโรงงานสำเร็จรูป (Ready-Built Factories - RBF) คลังสินค้าสำเร็จรูป (Ready-Built Warehouse – RBW) และกลุ่มคลังสินค้า (Warehouse Farms) มียอดขายที่ดินอุตสาหกรรมเกือบ 1,000 ไร่ คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้ นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 4 (HESIE 4) ยังได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ให้เป็นเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรม สำหรับอุตสาหกรรมการบิน

      และโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่  ดับบลิวเอชเอ เหมราช อินดัสเตรียล โซน เฟสแรก ในจังหวัดเหงะอาน ในประเทศเวียดนามได้รับการอนุมัติเป็นที่เรียบร้อย รวมถึงการนำบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าตลาดรวม 20,000 ล้านบาท การเริ่มให้บริการศูนย์ข้อมูล 3 แห่ง และบริษัทสามารถลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนลงเหลือ 1.2 เท่า ส่งผลให้ทริสเรทติ้งปรับเพิ่มอันดับเครดิตของบริษัทเป็นระดับ “A-” 

       “แนวทางธุรกิจของเรามาจากวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและการวิเคราะห์สภาพตลาดอย่างรอบด้าน รวมถึงความสามารถในการคว้าโอกาสทางธุรกิจทั้งหมดในสี่กลุ่มธุรกิจของเราด้วย” นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป กล่าว "สำหรับประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะเน้นย้ำสถานะความเป็นผู้นำของเราด้วยการสนับสนุนนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลอย่างเต็มกำลัง อาทิ โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และมีบทบาทอย่างแข็งขันในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย 

       ในขณะเดียวกัน เราก็ยังมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการขยายและพัฒนาธุรกิจของเราในประเทศเพื่อนบ้าน และจีนไปพร้อม ๆ กัน”

ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป: ผู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการอีอีซี

       นับแต่เริ่มต้น ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ได้แสดงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนโครงการอีอีซีของรัฐบาลผ่านการดำเนินกิจกรรมทั้งสี่กลุ่มธุรกิจของบริษัท  โดยเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์ของ WHA ที่ได้จัดเตรียมศูนย์โลจิสติกส์ขนาดใหญ่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งรวมมีพื้นที่ขนาด 800,000 ตร.ม. เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเขตอีอีซี จากจำนวนนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ-เหมราช 9 แห่งที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน มีนิคมฯ 8 แห่งตั้งอยู่ในเขตอีอีซี และอีก 2 แห่งที่อยู่ระหว่างการพัฒนา รวมเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้งสิ้นกว่า 45,000 ไร่ และมีพื้นที่รอขายอีกกว่า 10,000 ไร่  โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ได้อนุมัติให้นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 4 (HESIE 4) ซึ่งมีพื้นที่รวม 1,400 ไร่ ในจังหวัดระยอง เป็นเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมสำหรับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ในการส่งเสริมผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

       ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมประกอบด้วย การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (S-curve) อันได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เกษตรกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ควบคู่ไปกับ 5

       อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) อันได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมดิจิทัล 

       ยิ่งไปกว่านั้น WHA ยังสามารถให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 700 รายที่ตั้งอยู่ในเขตอีอีซี ด้วยบริการสาธารณูปโภคและระบบจัดการน้ำเสีย ซึ่งมีกำลังการผลิดรวมกว่า 155 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี  มีกำลังผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ตามสัดส่วนการถือหุ้นที่  478 เมกะวัตต์ นิคมอุตสาหกรรมของบริษัท 8 แห่งที่ติดตั้งพร้อมด้วยระบบไฟเบอร์ออพติค (FTTx) โครงการท่อจัดจำหน่ายและค้าปลีกก๊าซธรรมชาติในนิคมอุตสาหกรรมอีก 2 โครงการ และโอกาสในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบนพื้นที่อีก 2.1 ล้านตร.ม. ด้วย

      “ด้วยทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ของเรา ประกอบกับการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและมาตรการจูงใจต่าง ๆ เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า อีอีซีจะทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และบรรลุเป้าหมายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลได้ในที่สุด" นางสาวจรีพร กล่าว

 ผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นด้านโลจิสติกส์ครบวงจรของเอเซีย

      จากธุรกิจหลักแต่แรกเริ่มของ WHA ด้วยแนวคิด Built-to-Suit (BTS) กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์วางแผนที่จะเพิ่มพื้นที่ให้เช่าขึ้นอีกร้อยละ 11 ในปี 2561 จากเดิม 2,151,000 ตร.ม. เป็น 2,391,000 ตร.ม. โดยจะเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่สร้างมูลค่าสูง อาทิ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และสินทรัพย์ให้เช่าที่สร้างมูลค่าสูง สอดคล้องไปกับการพัฒนาอี-คอมเมิร์ซ

     เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา บริษัทได้ลงนามในข้อตกลงกับบริษัท เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ จำกัด ธุรกิจร่วมทุนระหว่างกลุ่มเซ็นทรัล และเจดีดอทคอม หนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจอี-คอมเมิร์ซจากประเทศจีน เพื่อเช่าคลังสินค้ารวมพื้นที่ 6,848  ตร.ม. ที่ดับบลิวเอชเอ เมกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ ชลหารพิจิตร บนถนนบางนา-ตราด นอกจากนี้ บริษัทยังเตรียมขยายพื้นที่เฟสสองให้กับท็อปส์ มาร์เก็ต ของกลุ่มเซ็นทรัลอีกด้วย 

      บริษัทจะเตรียมดำเนินการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมา มาเลเซีย และกัมพูชาต่อไป โดยในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคภายในประเทศมีศักยภาพสูงมาก ดับบลิวเอชเอก็มีพื้นที่คลังสินค้าให้เช่าแบบ Built-to-suit อยู่ 25,688 ตร.ม. ในจังหวัดบันเติง จาการ์ตาตะวันตก

       สำหรับ การขายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) นั้น จะดำเนินการผ่านกอง       “ในประเทศไทย เราตั้งตารอที่จะได้มีโอกาสช่วยผลักดันให้เกิดกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการใหม่ ๆ ในอีอีซี” นางสาวจรีพร กล่าว “ในอินโดนีเซียและเวียดนาม ทั้งสองประเทศต้องการพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ให้ทันสมัยและสร้างมูลค่าเพิ่ม  โดยเราจะใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมของเรา รวมทั้งการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทขนาดใหญ่ เช่น ไดวะ เฮาส์ อินดัสทรี จากประเทศญี่ปุ่นด้วย” นางสาวจรีพร กล่าวอธิบาย

ผู้นำด้านนิคมอุตสาหกรรมระดับเวิลด์คลาสของเอเชีย

      ในปี 2561 ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมของ WHA มีแผนที่จะให้บริการนิคมอุตสาหกรรมรวม 10 แห่งในประเทศไทย และอีก 1 แห่งในเวียดนาม พื้นที่รวม 39,300 ไร่  โดยตั้งเป้าขายที่ดิน 1,400 ไร่ จากจำนวน 1,000 ไร่ในปี 2560 โดยมีที่ดินรอขายอีกกว่า 10,000 ไร่

       ด้วยส่วนแบ่งตลาดด้านการขายที่ดินอุตสาหกรรมเฉลี่ยร้อยละ 34 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 50 ในปี 2560 โดยกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมของ WHA เตรียมขยายธุรกิจไปสู่โครงการอุตสาหกรรมบริการที่มีมูลค่าสูงและนิคมฯ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจะเน้นอุตสาหกรรมการบิน, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมดิจิทัล, อุตสาหกรรมการแพทย์ และอุทยานนวัตกรรม ตามแผนโครงการอีอีซี 

      และเพื่อคว้าโอกาสจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟสสาม โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง และโครงการรถไฟรางคู่  WHA จะเปิดตัวนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 3 (HESIE 3) ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 10 ของบริษัทในจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีพื้นที่รวม 2,200 ไร่ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561

      ด้วยลูกค้ากว่า 700 ราย สัญญาซื้อขายและเช่าที่ดินกว่า 1,000 สัญญา ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมของ WHA ได้รับประโยชน์หลายประการจากฐานลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม "โครงการอีอีซีดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ มากมายจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และยุโรป” มร. เดวิด นาร์โดน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม และการลงทุนต่างประเทศ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) กล่าว “นักลงทุนให้ความสนใจอย่างมากในเรื่องทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ต้นทุนที่เหมาะสม และทักษะแรงงานที่มีฝีมือ ยังไม่นับรวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย" เขากล่าว

      ในเวียดนาม ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป จะดำเนินการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในจังหวัดเหงะอาน อย่างต่อเนื่อง โดยเฟสที่ 1 จะมีพื้นที่ราว 3,110 ไร่ จากพื้นที่รวม 20,000 ไร่ของทั้งโครงการ

       “เศรษฐกิจของเวียดนามยังคงเติบโตดีต่อเนื่องด้วยเงินลงทุนตรงจากต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมที่เน้นภาคการส่งออก” เขากล่าวเสริม

ผู้นำอันดับหนึ่งด้านบริการสาธารณูปโภคและพลังงานแห่งเอเชีย

      ธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP ยังคงเดินหน้าขยายการเติบโตสอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอช-เหมราช ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมเจาะกลุ่มลูกค้านอกนิคมอุตสาหกรรมเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ อาทิ เทศบาล และอาคารเพื่อการพาณิชย์

      ในส่วนของธุรกิจสาธารณูปโภค ซึ่งให้บริการน้ำดิบ น้ำประปา และน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม รวมไปถึงระบบจัดการน้ำเสีย จะยังคงขยายบริการในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ-เหมราชทั้งหมดในประเทศไทย รวมไปถึงนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 3 (HESIE 3) และการเริ่มให้บริการของเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในจังหวัดเหงะอาน ประเทศเวียดนาม รวมถึงโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ในเวียดนามด้วย

       นอกจากนี้ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ยังมีแผนที่จะเจาะตลาด CLMV และเพิ่มบริการใหม่ๆ เช่น การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ การกรองแร่ธาตุออกจากน้ำ และการกรองน้ำเค็ม โดยประมาณการณ์กำลังการผลิตน้ำสำหรับปี 2561 อยู่ที่ 113 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปี 2560 อันเนื่องมาจากความต้องการใช้งานที่สูงขึ้นของลูกค้าปัจจุบันและลูกค้ารายใหม่ รวมถึงอัตราการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นจากโรงไฟฟ้าที่เพิ่งเดินเครื่องผลิต ทั้งหมดนี้จะช่วยผลักดันให้ WHAUP รั้งตำแหน่งผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภคเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยต่อไป

      สำหรับ ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบัน WHAUP ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าจำนวน 15 โครงการ (ในประเทศไทย 14 โครงการ และอีกหนึ่งโครงการในประเทศลาว) โดยจะมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมด 2,540 เมกะวัตต์ในปี 2562 โดย WHAUP มีสัดส่วนการถือครองกำลังการผลิตไฟฟ้าจำนวน 543 เมกะวัตต์  ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าอยู่ในระหว่างการดำเนินการ 11 โครงการด้วยกกำลังการผลิต 478 เมกะวัตต์ (กำลังการผลิตตามสัญญา 2,287.4 เมกะวัตต์) ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) 3 แห่ง ภายใต้ความร่วมมือกับบริษัทโกลว์  โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) จำนวน 6 แห่ง ภายใต้ความร่วมมือกับบริษัท บี กริม (1 แห่ง ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี) รวมถึงกับบริษัท กัลฟ์ เจพี (1 แห่ง ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมเหมราชระยอง) และกับบริษัท กัลฟ์ เอ็มพี (4 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด และนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด) และยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ VSPP ซึ่งร่วมมือกับกัลฟ์และกันกุลอีก 2 แห่ง

       ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าอยู่ในระหว่างพัฒนา 4 โครงการ ด้วยกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น 65 เมกะวัตต์ (กำลังการผลิตตามสัญญา 253 เมกะวัตต์) โดยคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2561 และ 2562 ซึ่งในที่นี้รวมถึงโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 2 แห่ง ภายใต้ความร่วมมือกับกัลฟ์ เอ็มพี โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ VSPP อีก 1 แห่ง และโรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะ VSPP อีก 1 แห่ง ซึ่งร่วมมือกับโกลว์และสุเอซ ผ่านธุรกิจร่วมทุน บริษัท ชลบุรี คลีนเอ็นเนอร์ยี จำกัด  หรือ CCE 

     นอกจากการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานดั้งเดิมอย่างถ่านหิน น้ำ และแก๊สแล้ว WHAUP ยังวางแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานขยะอีกด้วย ด้วยพื้นที่บนหลังคาในนิคมอุตสาหกรรม และอาคารศูนย์กระจายสินค้าและโลจิสติกส์ของดับบลิวเอชเอ กว่า 2.1 ล้านตารางเมตร จะเป็นช่องทางที่สำคัญในการต่อยอดการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงอาคารอื่นๆ นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ-เหมราช ด้วย

       “สำหรับธุรกิจสาธารณูปโภคในประเทศไทย เรามีแผนขยายธุรกิจไปสู่บริการจ่ายก๊าซธรรมชาติ ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ส่วนในต่างประเทศ ประเทศเวียดนามและพม่าจะเป็นประเทศแรก ๆ สำหรับการลงทุนของกลุ่มธุรกิจนี้” นายวิเศษ จูงวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

    “ในด้านพลังงาน เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาพลังงานรูปแบบเดิมร่วมกับพันธมิตร ควบคู่ไปกับพลังงานหมุนเวียน รวมถึงแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในเวียดนาม” นายวิเศษ กล่าวเสริม

 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ

       ในปี 2561 กลุ่มธุรกิจดิจิทัลของดับบลิวเอชเอ จะดำเนินการเพิ่มตู้แร็คอีก 156 ตู้ในดาต้าเซ็นเตอร์ทั้ง 3 แห่ง หรือเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 34 จากเดิมที่มีตู้แร็คทั้งสิ้น 461 ตู้ มาเป็น 617 ตู้ พร้อมขยายบริการไฟเบอร์ออพติก (FTTx) จากปัจจุบันที่ให้บริการใน 5 นิคมอุตสาหกรรม ให้ครอบคลุมทุกนิคมอุตสาหกรรม

       ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นครบวงจรแก่ลูกค้า ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้จะให้บริการโครงข่ายและโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ให้เช่าและจัดหาบริการด้านอุปกรณ์ไอที คลาวด์คอมพิวติ้งและบิ๊กดาต้า บริการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและเครื่องจักรอัตโนมัติ เครื่องมือตรวจสอบและระบบควบคุม เครื่องหาปริพันธ์ระบบ ไปจนถึงบริการอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ

         กลุ่มธุรกิจดิจิทัลนับเป็นภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับนโยบายโครงสร้างพื้นฐานในโครงการอีอีซีและการลงทุนด้านเทคโนโลยี สะท้อนถึงโอกาสสำคัญที่จะเติบโตและพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต ด้วยการเติบโตของระบบอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ และบทบาทของ “บิ๊กดาต้า” ที่กำลังมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นที่ต้องการมากขึ้นอีกเป็นทวีคูณ

      “ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ ด้วยการเป็นผู้ให้บริการแบบครบวงจรสำหรับบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ครอบคลุมบริการและโซลูชั่นดาต้าเซ็นเตอร์ที่ครบครัน อีกทั้งยังจับมือทำงานร่วมกับพันธมิตรผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีชั้นนำมากมาย ในการให้บริการศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ โครงข่ายไฟเบอร์ออพติค และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย”นางสาวจรีพร กล่าว 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!