หมวดหมู่: พาณิชย์

MOCจนทรา ยมเรวต


ก.พาณิชย์ แนะไทยส่งสินค้าและบริการไอทีเจาะตลาดกัมพูชา หลังพฤติกรรมการบริโภคเริ่มใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

    ก.พาณิชย์ เผยสินค้าสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริการด้านไอที มีโอกาสขยายตลาดในกัมพูชาสูงมาก แนะผู้ผลิต ผู้ให้บริการไทย วางแผนส่งออกและเข้าไปให้บริการรองรับการเติบโต หลังคนรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยว นิยมใช้แอปพลิเคชันค้นหาข้อมูลด้านบันเทิง ที่ท่องเที่ยว ที่ดื่ม ที่กิน หรือรับบริการจากภาครัฐ

     นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ กัมพูชาได้มีการพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ต ที่เข้าถึงประชากรกัมพูชามากกว่า 45%ของจำนวนประชากร 15 ล้านคน และยังพบว่าภาครัฐและเอกชนในกัมพูชาได้นิยมนำแอปพลิเคชันมาเป็น ส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจหรือการให้บริการ ได้ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และลดการบริโภคหรือใช้บริการบางรูปแบบที่ล้าสมัยและไม่สะดวกสบาย

      ทั้งนี้ จากการขยายตัวดังกล่าว ทำให้สินค้าที่เกี่ยวข้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ กล่องแผงวงจรควบคุม สายเคเบิลชนิดต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง เช่น การสร้างและพัฒนาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน ข้อมูลและสื่อทางดิจิตอล ที่สามารถตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของผู้บริโภค ทั้งด้านบันเทิง ข้อมูลข่าวสาร วิชาการ สุขภาพ การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร การเงิน การซื้อสินค้าและบริการ ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

       “กรมฯ เห็นว่าการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการให้บริการในกัมพูชา จะเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ทั้งผู้ผลิตและพัฒนาสินค้า ผู้ให้บริการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ในการขยายตลาดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ รวมถึงการให้บริการทางด้านวิศวกรรมและด้านเทคนิคสำหรับการติดตั้งและบำรุงรักษาเข้าไปยังกัมพูชา”นางจันทิรากล่าว

      นางจันทิรา กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมในกัมพูชาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นแอปพลิเคชันด้านการท่องเที่ยว เช่น แอปฯ Cambodia e-Visa ใช้ขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว แอปฯ จองโรงแรมที่พักในกัมพูชา แอปฯ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและการเดินทาง แอปฯ Leboost ค้นหาร้านอาหาร ผับ บาร์ กลุ่มที่ 2 เป็นแอปฯ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แอปฯ Mealtemple รวบรวมร้านอาหารกว่า 270 ร้าน แอปฯ เรียกรถโดยสารสาธารณะ แอปฯ ทำธุรกรรมทาง การเงิน แอปฯ ส่วนลดร้านอาหาร เป็นต้น และกลุ่มสุดท้าย เป็นแอปฯ ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น แอปฯ ของกระทรวงขนส่งสาธารณะและคมนาคม แอปฯ กรมศุลกากร และแอปฯ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ เป็นต้น

'พาณิชย์'แนะส่งสินค้าและบริการไอทีเจาะตลาดกัมพูชา

      'พาณิชย์'เผยสินค้าสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริการด้านไอที มีโอกาสขยายตลาดในกัมพูชาสูงมาก แนะผู้ผลิต ผู้ให้บริการไทย วางแผนส่งออกและเข้าไปให้บริการรองรับการเติบโต หลังคนรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยว นิยมใช้แอปพลิเคชันค้นหาข้อมูลด้านบันเทิง ที่ท่องเที่ยว ที่ดื่ม ที่กิน หรือรับบริการจากภาครัฐ 

     นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ กัมพูชาได้มีการพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ต ที่เข้าถึงประชากรกัมพูชามากกว่า 45% ของจำนวนประชากร 15 ล้านคน และยังพบว่าภาครัฐและเอกชนในกัมพูชาได้นิยมนำแอปพลิเคชันมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจหรือการให้บริการ ได้ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และลดการบริโภคหรือใช้บริการบางรูปแบบที่ล้าสมัยและไม่สะดวกสบาย 

       ทั้งนี้ จากการขยายตัวดังกล่าว ทำให้สินค้าที่เกี่ยวข้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ กล่องแผงวงจรควบคุม สายเคเบิลชนิดต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง เช่น การสร้างและพัฒนาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน ข้อมูลและสื่อทางดิจิตอล ที่สามารถตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของผู้บริโภค ทั้งด้านบันเทิง ข้อมูลข่าวสาร วิชาการ สุขภาพ การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร การเงิน การซื้อสินค้าและบริการ ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

     “กรมฯ เห็นว่าการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการให้บริการในกัมพูชา จะเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ทั้งผู้ผลิตและพัฒนาสินค้า ผู้ให้บริการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์    ในการขยายตลาดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ รวมถึงการให้บริการทางด้านวิศวกรรมและด้านเทคนิคสำหรับการติดตั้งและบำรุงรักษาเข้าไปยังกัมพูชา”นางจันทิรากล่าว

        นางจันทิรากล่าวปิดท้ายว่า สำหรับแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมในกัมพูชาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นแอปพลิเคชันด้านการท่องเที่ยว เช่น แอปฯ Cambodia e-Visa ใช้ขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว แอปฯ จองโรงแรมที่พักในกัมพูชา แอปฯ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและการเดินทาง แอปฯ Leboost ค้นหาร้านอาหาร ผับ บาร์ กลุ่มที่ 2 เป็นแอปฯ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แอปฯ Mealtemple รวบรวมร้านอาหารกว่า 270 ร้าน แอปฯ เรียกรถโดยสารสาธารณะ แอปฯ ทำธุรกรรมทาง การเงิน แอปฯ ส่วนลดร้านอาหาร เป็นต้น และกลุ่มสุดท้าย เป็นแอปฯ ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น แอปฯ ของกระทรวงขนส่งสาธารณะและคมนาคม แอปฯ กรมศุลกากร และแอปฯ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ เป็นต้น

           สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย       

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!