หมวดหมู่: เกษตร

AGRI วณะโรจน ทรพยสงสข


ก.เกษตรฯ เผยข้อมูลไม้ผลตะวันออก ปี 61 รอบแรก คาดผลผลิตรวม 8.02 แสนตัน เพิ่มขึ้น 1.37% จากปี 60

      ก.เกษตรฯ แจงข้อมูลไม้ผลเอกภาพรอบที่ 1 ปี 61 ของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกองใน 3 จังหวัดตะวันออก จันทบุรี ระยอง และตราด คาด ผลผลิตรวม 802,973 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 60 ร้อยละ 1.37 เผย ผลผลิตรวมทั้ง 4 สินค้าเพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยเฉพาะ เงาะ เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยปริมาณน้ำเพียงพอ พร้อมติดตามสถานการณ์อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ศกหน้า

       นายวิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการบูรณาการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลเอกภาพรอบที่ 1 ปี 2561 ซึ่ง สศก. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สศท.6) และศูนย์สารสนเทศการเกษตร (ศสส.) ร่วมมือกับคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วย สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 (สสก.3) จังหวัดระยอง และสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งคณะทำงานฯ ได้พยากรณ์ผลผลิตไม้ผลภาคตะวันออก ครั้งที่ 1 ของสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง และตราด เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนบริหารจัดการผลไม้ตั้งแต่ต้นฤดู

       สำหรับ ผลพยากรณ์ ปี 2561 ครั้งที่ 1 (ข้อมูล ณ 4 ธันวาคม 2560) พบว่า เนื้อที่ให้ผลของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 622,126 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีจำนวน 605,481 ไร่ (เพิ่มขึ้น 16,645 ไร่ หรือ ร้อยละ 2.75) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 5.42  มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76  และเงาะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 ส่วนลองกอง ลดลงร้อยละ 3.73

      ผลผลิตรวมทั้ง 4 สินค้า คาดว่าจะมีประมาณ 802,973 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีจำนวน 792,113 ตัน (เพิ่มขึ้น 10,860 ตัน หรือ ร้อยละ 1.37)  โดยผลผลิตจะออกมากช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ต่อเนื่องถึงกลางเดือนมิถุนายน คาดการณ์ว่าผลผลิตรวมของทั้ง 4 สินค้าจะเพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยเงาะ จะเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 3.48 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยปริมาณน้ำเพียงพอ รองลงมาได้แก่ มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.23 ทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.54 และลองกอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 

      ผลผลิตต่อไร่ เงาะ และ ลองกอง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับในปีที่ผ่านมาไม้ผลบางต้นไม่ติดผลหรือให้ผลผลิตน้อยทำให้มีเวลาในการพักต้นสะสมอาหารต้นสมบูรณ์ขึ้นส่วนหนึ่ง ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ทุเรียน และมังคุด มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากในปีที่ผ่านมาติดดอกออกผลมากจึงคาดว่าต้นมังคุดจะพักสะสมอาหาร อีกทั้งปีที่ผ่านมา  ต้นทุเรียนประสบปัญหาเชื้อราไฟทอปเธอราที่ระบาด ทำให้ทุเรียนรากโคนเน่ายืนต้นตาย ขยายเป็นพื้นที่กว้างทั้งจังหวัดจันทบุรีและตราด โดยเฉพาะแหล่งผลิตใหญ่ในจังหวัดจันทบุรีได้รับผลกระทบมากทำให้จำนวนต้นต่อไร่ที่ให้ผลผลิตได้ลดลง

     ด้านนายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการ สศท.6 กล่าวเสริมถึงสถานการณ์ในขณะนี้ว่า ทุเรียน ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 60 ผลผลิตที่ติดผลในช่วงแรกเป็นทุเรียนพันธุ์เบาและทุเรียนที่ใช้สารกระตุ้นการออกดอก โดยจะเป็นพันธุ์กระดุมและหมอนทองบางส่วน เงาะ ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 2  ด้าน มังคุด ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 3 ขณะที่ ลองกองยังไม่ออกดอก ซึ่งลองกองสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ถ้าหากสภาพต้นที่สลดขาดแคลนน้ำ เนื่องจากในช่วงปลายปี 2560 มีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ ต้นลองกองยังไม่สลดจึงยังไม่มีพัฒนาการการออกดอก

        สำหรับ แนวทางบริหารจัดการผลไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2561 ยังคงเน้นเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยให้จังหวัดคำนึงถึงการบริหารจัดการผลไม้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพซึ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลไม้ ควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลไม้ตลอดฤดูกาลผลิต ด้านเชิงคุณภาพ เช่น การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลผลิตสู่มาตรฐาน (GAP) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้รวมกลุ่มเพื่อผลิตไม้ผลในลักษณะแปลงใหญ่ อบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิต เป็นต้น ส่วนในเชิงปริมาณ เช่น การเชื่อมโยงตลาดล่วงหน้า การจัดทำแผนบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกิน เป็นต้น ทั้งนี้จังหวัดจะจัดทำรายละเอียดของแผนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ โดยมี คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.)  เป็นแกนหลักในการกลั่นกรอง เชื่อมโยง บูรณาการ แผนงานหรือโครงการต่อไป

     อย่างไรก็ตาม หากสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนอาจทำให้ปริมาณผลผลิตไม้ผลเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง ได้อีก เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศในช่วงแรกของภาคตะวันออกมีฝนตกค่อนข้างมากในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่งผลต่อการติดดอกออกผลของผลไม้โดยเฉพาะมังคุด เงาะ และลองกองที่ออกดอกล่าช้า จึงยังไม่เห็นพัฒนาการที่ชัดเจน โดยดอกมังคุด และเงาะจะเห็นผลได้ชัดเจนอีกครั้งหลังกลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไป ซึ่ง สศท.6 จะได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและลงพื้นที่สำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี โทร. 038 352 435 หรืออีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ก.เกษตรฯ เผยดัชนีฯรายได้เกษตรกร 10 เดือนแรก แตะ 156.50 หลังมาตรการช่วยเหลือภาครัฐ สะท้อนรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น

      สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาด ดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 60 จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 59 ระบุ 10 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น มั่นใจ มาตรการช่วยเหลือภาครัฐ และแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ภาคเกษตรในปีหน้ายังคงขยายต่อเนื่อง

      นายวิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยถึงทิศทางรายได้เกษตรกรปี 2560 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากดัชนีรายได้เกษตรกร พบว่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ขายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับประรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ต่าง ๆ และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง โดยดัชนีรายได้เกษตรกรในช่วง 10 เดือนของปี 2560 (ม.ค.-ต.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ถึงร้อยละ 7.98 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 9.69 จากแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลในช่วงปีที่ผ่านทำให้ทุกภูมิภาคของประเทศสามารถทำการเพาะปลูกได้เพิ่มขึ้น และยังมีน้ำต้นทุนเหลือเพียงพอสำหรับการทำการเกษตรฤดูแล้งปี 2561

   ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปี 2560 โดยพิจารณาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้หดตัวเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.6 จากการที่รัฐบาลได้เข้าส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรในการทำการการผลิตโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เน้นการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้างโพดเลี้ยงสัตว์) โครงการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร การขยับช่วงการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งโครงการและมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ได้เข้าไปมีส่วนช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำเหมือนที่ผ่านมาสำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ รัฐบาลได้เร่งรัดเข้าไปให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทั้งเป็นการเฉพาะหน้า การชดเชยความเสียหาย และการฟื้นฟูส่งเสริมอาชีพ ผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 9101

   หากมองหนี้สินครัวเรือนเกษตรปี 2560 จากการสำรวจของ สศก. ในเบื้องต้น พบว่ามีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2559 โดยหนี้สินครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40 เป็นการกู้ยืมเงินระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรอการจำหน่าย เช่น การซื้อวัสดุอุปกรณ์และปัจจัย การผลิต ค่าพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ค่าซ่อมแซมยุ้งฉาง/โรงเรือนเลี้ยงพืชสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวของภาคเกษตรโดยรวมและสอดรับกับรายได้เงินสดทางการเกษตรของครัวเรือนปี 2560 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนเกษตรซึ่งสอดคล้องข้อมูลภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม ปี 2560 ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจภูมิภาคของไทยขยายตัวต่อเนื่องในหลายภูมิภาคเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และแนวโน้มหนี้ครัวเรือนไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

รมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่จ.สุโขทัย หนุนเกษตรกรเลือกประกอบอาชีพด้วยตัวเอง

     นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะเกษตรกร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.ไกรนอก  อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบของจังหวัดสุโขทัย ที่มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความหลากหลายในการทำการเกษตร มีการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีหลักสูตรเรียนรู้ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และการใช้สารชีวภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การเพาะพันธุ์ปลาหมอชุมพรเพื่อจำหน่าย และการเพาะพันธุ์ลูกนกกระทาจำหน่าย จึงเป็นแหล่งให้ความรู้จากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ แก่เกษตรกรที่เข้ามารับการอบรม

       ทั้งนี้ ในจังหวัดสุโขทัยมี ศพก.จำนวน 9 แห่ง รวมตัวเป็นเครือข่ายบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการประเมินขีดความสามารถของ ศพก.เพื่อสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น จึงต้องพัฒนาให้เป็นจุดที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกร จึงเป็นแนวทางให้หน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรและบริหารจัดการไปสู่เกษตรกรเพื่อสร้างความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

       รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงฯ พร้อมที่จะสนับสนุนความคิดของเกษตรกร ลดการชี้นำให้น้อยลง โดยจะให้เกษตรกรได้เลือกการประกอบอาชีพทางการเกษตรด้วยตัวเอง โดยให้เรียนรู้จากกันและกัน และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งในบทบาทของกระทรวงเกษตรฯ จะเข้าไปสนับสนุนในการให้ความรู้ ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น กระทรวงพาณิชย์เข้ามาช่วยในเรื่องการตลาด เพื่อให้เกษตรกรมีการปรับปรุงสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นตลอดเวลา และมีโอกาสในการส่งออกไปต่างประเทศได้ แนวความคิดดังกล่าวจะสามารถสร้างความยั่งยืนและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่เกษตรกร จะมุ่งเน้นพัฒนาการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มคุณภาพ การเข้าถึงตลาด หรือแม้แต่การเข้าถึงทุนจากสถาบันการเงิน ก็จะทำให้พัฒนาไปสู่ความยั่งยืนต่อไป

                        อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!