หมวดหมู่: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

1aaa พรชัย ฐีระเวช


คลัง เพิ่มวงเงินสนับสนุนมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19

        นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 รับทราบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 โดยคณะกรรมการฯ เห็นควรให้ความเห็นชอบและอนุมัติการเพิ่มวงเงินสนับสนุนในโครงการ ดังนี้

       (1) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 (โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรฯ ระยะที่ 3) (2) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ) (3) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และ (4) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ตามที่กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเสนอ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้แก่กลุ่มที่มีความเปราะบางทางด้านรายได้ ทรัพย์สิน และหนี้สิน และผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ตลอดจนเพื่อพยุงและฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ผ่านการเพิ่มอุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรฯ ระยะที่ 3 เพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพิ่มเติม จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือนเป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564 (รวม 600 บาทต่อคน) ให้แก่ผู้มีบัตรฯ จำนวนไม่เกิน 13,537,294 คน รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 500 บาทต่อคนต่อเดือนในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564
  2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ เพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าฯ และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพิ่มเติม จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564 (รวม 600 บาทต่อคน) ให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ จำนวนไม่เกิน 2,306,469 คน รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 500 บาทต่อคนต่อเดือนในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564
  3. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพิ่มเติมวงเงินสนับสนุนรัฐร่วมจ่าย รอบที่ 3 จำนวน 1,500 บาทต่อคน ในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564 (โดยนำไปรวมกับวงเงินคงเหลือจากรอบที่ 1 และ 2 ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยอัตโนมัติ) ให้แก่ผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 จำนวนไม่เกิน 28,000,000 คน
  4. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เพิ่มวงเงินสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) ของรัฐ จำนวน 3,000 บาทต่อคน ให้แก่ผู้ได้รับสิทธิโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ จำนวนไม่เกิน 1,000,000 คน โดยมีผลกับวงเงินใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้

      4.1 สำหรับผู้ได้รับสิทธิที่มียอดใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher ไม่เกิน 60,000 บาท  ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 จะนำยอดใช้จ่ายมาคำนวณสิทธิ e-Voucher ได้ ดังนี้ (1) ยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 1 – 40,000 บาทแรก ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 10 ของยอดใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน (2) ยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 40,000 – 80,000 บาท ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 6,000 บาทต่อคน

      4.2 สำหรับผู้ได้รับสิทธิที่มียอดใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher เต็มจำนวน 60,000 บาท   ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ซึ่งมีสิทธิได้รับ e-Voucher จำนวน 7,000 บาทเรียบร้อยแล้ว จะมีสิทธิได้รับ e-Voucher เพิ่มเติม หากมีการใช้จ่ายเพิ่มเติม จำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จะได้รับสิทธิ e-Voucher ร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่ายเพิ่มเติมดังกล่าว แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน

      ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้จะได้รับสิทธิ e-Voucher รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ และสามารถใช้จ่าย e-Voucher ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

       จากข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2564 มีผู้ใช้สิทธิสะสมทั้ง 4 โครงการรวมกว่า 40.04 ล้านราย ยอดใช้จ่ายสะสมทั้งหมด 114,819.9 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้

  1. - โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรฯ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 13.54 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 10,515.1 ล้านบาท
  2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวนกว่า 1.21 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 770.5 ล้านบาท
  3. - โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 25.21 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิ 27.7 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 100,734.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 51,195.3 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 49,539.0 ล้านบาท
  4. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 82,872 ราย จากผู้ได้รับสิทธิกว่า 4.78 แสนราย โดยเป็นยอดการใช้จ่ายส่วนประชาชนสะสม 2,663 ล้านบาท และยอดใช้จ่ายส่วน e-Voucher สะสม 137 ล้านบาท

    ประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ยังสามารถลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. ของทุกวัน ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่http://xn--72c.com/ หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จนกว่าจะครบ 28 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิเหลือกว่า 2 แสนสิทธิ สำหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จนกว่าจะครบ 1 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิคงเหลือกว่า 5.2 แสนสิทธิ

 

ความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

     นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 24.92 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิรวม 27.55 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 87,124.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 44,291.7 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 42,832.6 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิจำนวน 80,793 คน จากจำนวนผู้ได้รับสิทธิกว่า 4.7 แสนราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมรวมทั้งหมด 2,551  ล้านบาท โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายสะสมที่นำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher 2,006 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าสะสม e-Voucher ทั้งสิ้นกว่า 218 ล้านบาท และมูลค่าการใช้จ่ายส่วน e-Voucher สะสมกว่า 122 ล้านบาท

      นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำว่า ประชาชนผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ (โครงการฯ) สามารถใช้สิทธิซื้ออาหารและเครื่องดื่มจากร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มทั้ง 2 ราย ในขณะนี้ ได้แก่ Grab และ LINEMAN โดยรัฐจะสนับสนุนเงินในส่วนค่าอาหารและ/หรือเครื่องดื่มเท่านั้น ไม่รวมถึงค่าจัดส่งหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด โดยสามารถใช้บริการได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 20.00 น. ของทุกวัน ตามขั้นตอนดังนี้

1) เข้าแอปพลิเคชัน งเป๋าตังง กดแถบแบนเนอร์ (Banner) ฟู้ดเดลิเวอรี่ในหน้าแรก หรือสามารถเข้าผ่าน g-Wallet กด Banner โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ แล้วจึงกด Banner ฟู้ดเดลิเวอรี่

2) กด 'สั่งผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์ม'บนแอปพลิเคชัน'เป๋าตัง'แล้วจึงเลือกผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มที่ต้องการใช้งาน หรือสามารถกด “ค้นหาเมนูหรือร้านอาหาร” เพื่อเลือกซื้ออาหาร/เครื่องดื่มได้

3) หลังจากเลือกตามข้อ 2 ระบบจะเชื่อมไปที่แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มเพื่อสั่งอาหาร/เครื่องดื่มจากร้านอาหาร/เครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยประชาชนจะต้องชำระค่าส่งที่แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มก่อน

4) ประชาชนจะได้รับการแจ้งเตือนให้ชำระค่าอาหาร/เครื่องดื่มบน g-Wallet และกดปุ่มชำระค่าอาหาร/เครื่องดื่มพร้อมใช้สิทธิผ่าน g-Wallet โดยต้องชำระเงินภายใน 5 นาที

5) สำหรับ กรณีที่มีการยกเลิกคำสั่งซื้อประชาชนจะได้รับเงินคืน โดยมีรายละเอียดดังนี้

    5.1 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 จะได้รับเงินคืนใน g-Wallet และวงเงินสิทธิของโครงการคืนประมาณ 30 - 60 นาที

    5.2 โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ จะได้รับเงินคืนใน g-Wallet และวงเงินสิทธิ e-Voucher คืนประมาณ 30 - 60 นาที

    5.3 ค่าส่งที่ได้ชำระให้กับผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มจะได้รับคืนประมาณ 30 - 60 นาที

         ในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการฯ ที่ขายอาหารและเครื่องดื่มผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มขณะนี้ มีจำนวนกว่า 58,000 ราย โดยผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการฯ ที่ประสงค์จะขายอาหารและเครื่องดื่มผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มสามารถสมัครผ่านแอปพลิเคชัน ‘ถุงเงิน’ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถเลือกเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มเพื่อขายอาหารและเครื่องดื่มตามโครงการฯ ได้เพียงรายเดียวและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ (ตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขได้ที่ www.คนละครึ่ง.com และ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com) ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1) เข้าแอปพลิเคชัน ‘ถุงเงิน’ กด ‘สมัครฟรี’ ที่กดแถบ Banner รับเงินผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่ บนหน้าช่องทางรับเงิน จากนั้นกด ‘ยอมรับ’ ข้อตกลงและเงื่อนไข

2) ระบบจะเข้าสู่หน้าสมัครใช้งานฟู้ดเดลิเวอรี่ ให้เลือกฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มที่ต้องการ

3) กรณีร้านค้าที่มีสาขาระบบจะเข้าสู่หน้าผูกบัญชีถุงเงินแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ โดยร้านค้าสาขาหลักสามารถเลือกผูกถุงเงินเพื่อใช้งานฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มทั้งสาขาหลักและสาขาย่อย หรือ เฉพาะสาขาย่อยได้

4) กรอกข้อมูลร้านค้า แล้วจึงกดยืนยันการสมัครและจะได้รับรหัส OTP เพื่อยืนยันการสมัคร เมื่อกรอก OTP เรียบร้อยแล้ว จะขึ้นหน้าจอแจ้งได้รับคำขอสมัครเข้าร่วมโครงการฯ โดยจะแจ้งผลการลงทะเบียนในวันถัดไป

5) สำหรับการยืนยันคำสั่งซื้อ มีขั้นตอนดังนี้

    5.1 เข้าแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” กด Banner ฟู้ดเดลิเวอรี่บนหน้าช่องทางรับเงิน หรือ กดรายการคำสั่งซื้อจากการแจ้งเตือนเมื่อมีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา

    5.2 ระบบจะเข้าสู่หน้ารายการคำสั่งซื้อ ให้กดเลือกคำสั่งซื้อที่ต้องการยืนยัน โดยต้องกดยืนยันคำสั่งซื้อภายใน 10 นาที

    5.3 กรณียกเลิกคำสั่งซื้อ ในหน้าแสดงรายละเอียดคำสั่งซื้อ ให้กด ‘ยกเลิกคำสั่งซื้อ’

            สำหรับข้อมูลการใช้จ่ายสะสมผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มล่าสุด (08.00 น.) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีการใช้จ่ายสะสมประมาณ 214 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 110.3 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 103.7 ล้านบาท สำหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้มีการใช้จ่ายสะสมกว่า 176,000 บาท

            ประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการฯ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ยังสามารถลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. ของทุกวัน จนกว่าจะครบ 28 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิเหลือกว่า 3.6 แสนสิทธิ ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ สำหรับ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จนกว่าจะครบ 1 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิคงเหลือกว่า 5.2 แสนสิทธิ

 

การดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในโครงการเราชนะ

          สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ขอชี้แจงเกี่ยวกับโครงการเราชนะ (โครงการฯ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ระลอกใหม่ ภายใต้แผนงานเยียวยาตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

         โดยประชาชนผู้ได้รับสิทธิ จำนวน 33.2 ล้านคน จะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 9,000 บาท ตลอดโครงการ ด้วยการใช้จ่ายกับผู้ประกอบการร้านค้าในโครงการ 1.3 ล้านราย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ และบัตรประจำตัวประชาชน โครงการฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือให้ประชาชนและผู้ประกอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ มาโดยตลอด

        รวมถึงขอให้ประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ สามารถแจ้งเบาะแสและส่งหลักฐานการกระทำที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขโครงการฯ ให้ สศค. ทราบ และได้มีประชาชนส่งเบาะแสและหลักฐานมาให้ ซึ่ง สศค. จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับผู้ที่กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ต่อไป

         สศค. ได้กำหนดแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อย่างเข้มงวด เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่ได้รับในโครงการฯ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในโครงการฯ ที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคำยินยอม (Consent) ที่ได้ตกลงไว้ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ (คณะทำงานฯ) เพื่อติดตามตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ อย่างใกล้ชิด

         ในกรณีที่พบการกระทำที่ฝ่าฝืน เช่น การรับแลกวงเงินสิทธิเป็นเงินสด เป็นต้น ก็จะดำเนินการระงับสิทธิการเข้าร่วมโครงการฯ และร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขยายผลการสืบสวนสอบสวนต่อไป

            สำหรับ ขั้นตอนการดำเนินงานกับผู้ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ มีดังนี้

  1. การระงับสิทธิชั่วคราวการใช้แอปพลิเคชัน 'ถุงเงิน' เมื่อพบพฤติกรรมที่ผิดปกติในธุรกรรมการใช้จ่าย เช่น จุดรับเงินของแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ขยับไปมาระยะไกล ธุรกรรมเต็มจำนวนวงเงินสิทธิเป็นจำนวนมาก เป็นต้น และแจ้งให้ผู้ประกอบการให้ติดต่อกลับเพื่อชี้แจงโต้แย้ง ภายใน 14 วัน ซึ่งเมื่อครบกำหนดแล้ว จะนำเอกสารชี้แจงโต้แย้งของผู้ประกอบการที่ได้รับเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานฯ
  2. เมื่อได้พิจารณาเอกสารหลักฐานของผู้ประกอบการแล้วเห็นว่า ผู้ประกอบการกระทำการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวจริง หรือกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ชี้แจงโต้แย้งพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด จะได้มีหนังสือประทับตราแจ้งผลวินิจฉัยและขอให้ชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ และผู้ประกอบการสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวนี้
  3.       เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามข้อ 2. แล้ว กรณีไม่มีการชี้แจงหรือข้อมูลหลักฐานประกอบการอุทธรณ์ หรือไม่มีการชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ รวมถึงกรณีอุทธรณ์มาแต่คณะทำงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ก็จะได้มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการอีกครั้ง โดยหากผู้ประกอบการยังไม่ชำระเงินคืน ก็จะต้องดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการต่อไป

    ทั้งนี้ โครงการฯ ได้ระงับสิทธิถาวรผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ แล้ว จำนวน 2,099 ราย และได้ออกหนังสือประทับตราแจ้งผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ “เราชนะ” เพื่อคืนเงินที่ได้รับ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้ผู้ประกอบการขออุทธรณ์ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา (ขั้นตอนตามข้อ 2)

       ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของท่าน จึงขอให้ผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผล พร้อมยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อ สศค. ภายในระยะเวลาที่กำหนด (เช่น ใบเสร็จรับเงินเพื่อแสดงต้นทุนสินค้า หลักฐานการจัดส่งสินค้า เอกสารแสดงสินค้าคงคลัง รวมถึงภาพถ่ายสถานประกอบการ เป็นต้น) เพื่อนำสู่กระบวนการพิจารณาของคณะทำงานฯ และกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป

      สำหรับ ผู้ที่ประสงค์จะส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือกรณีมีความจำเป็นต้องรวบรวมเอกสารและหลักฐานก็อาจขอขยายเวลาการจัดส่ง โดยจัดทำคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผล โดยส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

การดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในโครงการเราชนะ

      สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ขอชี้แจงเกี่ยวกับโครงการเราชนะ (โครงการฯ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ระลอกใหม่ ภายใต้แผนงานเยียวยาตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

        โดยประชาชนผู้ได้รับสิทธิ จำนวน 33.2 ล้านคน จะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 9,000 บาท ตลอดโครงการ ด้วยการใช้จ่ายกับผู้ประกอบการร้านค้าในโครงการ 1.3 ล้านราย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ และบัตรประจำตัวประชาชน โครงการฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือให้ประชาชนและผู้ประกอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ มาโดยตลอด

        รวมถึงขอให้ประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ สามารถแจ้งเบาะแสและส่งหลักฐานการกระทำที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขโครงการฯ ให้ สศค. ทราบ และได้มีประชาชนส่งเบาะแสและหลักฐานมาให้ ซึ่ง สศค. จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับผู้ที่กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ต่อไป

       สศค. ได้กำหนดแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อย่างเข้มงวด เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่ได้รับในโครงการฯ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในโครงการฯ ที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคำยินยอม (Consent) ที่ได้ตกลงไว้ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ

(คณะทำงานฯ) เพื่อติดตามตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ

     อย่างใกล้ชิด ในกรณีที่พบการกระทำที่ฝ่าฝืน เช่น การรับแลกวงเงินสิทธิเป็นเงินสด เป็นต้น ก็จะดำเนินการระงับสิทธิการเข้าร่วมโครงการฯ และร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขยายผลการสืบสวนสอบสวนต่อไป

       สำหรับ ขั้นตอนการดำเนินงานกับผู้ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ มีดังนี้

  1.      การระงับสิทธิชั่วคราวการใช้แอปพลิเคชัน 'ถุงเงิน' เมื่อพบพฤติกรรมที่ผิดปกติในธุรกรรมการใช้จ่าย เช่น จุดรับเงินของแอปพลิเคชัน ‘ถุงเงิน’ ขยับไปมาระยะไกล ธุรกรรมเต็มจำนวนวงเงินสิทธิเป็นจำนวนมาก เป็นต้น และแจ้งให้ผู้ประกอบการให้ติดต่อกลับเพื่อชี้แจงโต้แย้ง ภายใน 14 วัน ซึ่งเมื่อครบกำหนดแล้ว จะนำเอกสารชี้แจงโต้แย้งของผู้ประกอบการที่ได้รับเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานฯ
  2. เมื่อได้พิจารณาเอกสารหลักฐานของผู้ประกอบการแล้วเห็นว่า ผู้ประกอบการกระทำการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวจริง หรือกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ชี้แจงโต้แย้งพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด จะได้มีหนังสือประทับตราแจ้งผลวินิจฉัยและขอให้ชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ และผู้ประกอบการสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวนี้
  3.      เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามข้อ 2. แล้ว กรณีไม่มีการชี้แจงหรือข้อมูลหลักฐานประกอบการอุทธรณ์ หรือไม่มีการชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ รวมถึงกรณีอุทธรณ์มาแต่คณะทำงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ก็จะได้มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการอีกครั้ง โดยหากผู้ประกอบการยังไม่ชำระเงินคืน ก็จะต้องดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการต่อไป

     ทั้งนี้ โครงการฯ ได้ระงับสิทธิถาวรผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ แล้ว จำนวน 2,099 ราย และได้ออกหนังสือประทับตราแจ้งผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ‘เราชนะ’เพื่อคืนเงินที่ได้รับ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้ผู้ประกอบการขออุทธรณ์ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา (ขั้นตอนตามข้อ 2)

      ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของท่าน จึงขอให้ผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผล พร้อมยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อ สศค. ภายในระยะเวลาที่กำหนด (เช่น ใบเสร็จรับเงินเพื่อแสดงต้นทุนสินค้า หลักฐานการจัดส่งสินค้า เอกสารแสดงสินค้าคงคลัง รวมถึงภาพถ่ายสถานประกอบการ เป็นต้น) เพื่อนำสู่กระบวนการพิจารณาของคณะทำงานฯ และกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป

      สำหรับ ผู้ที่ประสงค์จะส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือกรณีมีความจำเป็นต้องรวบรวมเอกสารและหลักฐานก็อาจขอขยายเวลาการจัดส่ง โดยจัดทำคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผล โดยส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

        สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. , This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1122 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!