หมวดหมู่: ธปท.

BOA


ธปท.แจงทุนสำรองระหว่างประเทศ 23 ก.พ. อยู่ที่ US$ 213.3 พันล้าน

     ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทย

     วันที่ 23 ก.พ.61 อยู่ที่ 213.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันที่ 16 ก.พ.61 ที่ 213.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

      ขณะเดียวกันฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิของไทย วันที่ 23 ก.พ.61 อยู่ที่ 36.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อเทียบกับวันที่ 16 ก.พ.61 ซึ่งอยู่ที่ 36.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

       เงินสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินบาทวันที่ 23 ก.พ.61 อยู่ที่ 6,702.7 พันล้านบาท จาก6,666.4 พันล้านบาท เมื่อวันที่ 16 ก.พ.61

16 ก.พ.61 23 ก.พ.61

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (พันล้านบาท) 6,666.4 6,702.7

(พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 213.4 213.3

ฐานะสุทธิ Forward(พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 36.8 36.4

สินเชื่อสุทธิที่ให้กับรัฐบาล(พันล้านบาท) 157.0 183.2

สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน(พันล้านบาท) -5,511.0 -5,493.5

ฐานเงิน(พันล้านบาท) 1,797.5 1,862.3

ธปท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ก.พ.ปรับลดลงตามกำลังซื้อภาคเอกชนที่ยังไม่เข้มแข็ง

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ก.พ.61 ดัชนีฯ ปรับลดลงเล็กน้อยจาก 52.1 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ 51.8 โดยปรับลดลงจากองค์ประกอบด้านผลประกอบการและด้านการผลิตเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการในภาคที่มิใช่การผลิตเช่น ภาคการค้าที่มีความเชื่อมั่นด้านปริมาณการค้าลดลงตามกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่เข้มแข็งนักและภาคก่อสร้างที่มีความเชื่อมั่นด้านปริมาณการก่อสร้างลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากที่ยังไม่เห็นโครงการก่อสร้างของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมากเท่าที่ควร

     ในขณะที่ผู้ประกอบการในภาคการผลิตมีความเชื่อมั่นปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย อาทิ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ และผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย เป็นต้น จากความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อที่ปรับดีขึ้นโดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากต่างประเทศตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

      ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 57.3 สูงสุดในรอบ 5 ปีสะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่มีต่อการขยายตัวเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านคำสั่งซื้อ การผลิต และการจ้างงานที่คาดว่าจะปรับดีขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

     สำหรับ ภาคการผลิต ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และการผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกายขณะที่ผู้ประกอบการภาคที่มิใช่การผลิตมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นในกลุ่มคลังสินค้าและกิจกรรมขนส่ง เป็นต้น

     ด้านดัชนีความเชื่อมั่นด้านต้นทุนปรับลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยทั้งในภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต เช่นเดียวกับข้อจำกัดด้านต้นทุนการผลิตสูงที่ยังคงเป็นข้อจำกัดสำคัญอันดับ 1 ของผู้ประกอบการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนความกังวลด้านต้นทุนที่สูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมัน รวมถึงแรงกดดันจากการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ

      ขณะเดียวกันการคาดการณ์เงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 2.1% ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับผู้ประกอบการจำนวนมากขึ้นที่เห็นว่าการปรับราคาสินค้าทำได้ยาก และดัชนีความเชื่อมั่นด้านราคาขายที่ปรับลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยแม้จะยังอยู่เหนือระดับ 50 สะท้อนถึงความสามารถในการปรับราคาของผู้ประกอบการที่ยังมีจำกัด

    อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!