หมวดหมู่: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ

10020 EIC


มาตรการ Yield Curve Control และ Negative Interest Rate Policy

กรณีศึกษาจากต่างประเทศ และนัยต่อนโยบายการเงินในไทย

โดย      ดร. กําพล อดิเรกสมบัติ (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจและตลาดการเงิน                              
            วชิรวัฒน์ บานชื่น (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส                                                  
            พงศกร ศรีสกาวกุล (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) นักวิเคราะห์
            Economic Intelligence Center (EIC)
            ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
            EIC Online: www.scbeic.com

 

          • การผ่อนคลายนโยบายการเงินผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้องเผชิญกับข้อจำกัดมากขึ้น ทำให้ธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศรวมถึงผู้ร่วมตลาดต่างให้ความสนใจมากขึ้นต่อการดำเนินมาตรการทางการเงินแบบพิเศษ (unconventional monetary measures)
          • มาตรการ Yield Curve Control (YCC) ถูกนำมาใช้ทั้งในญี่ปุ่นและออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์ในการตรึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไว้ ณ ระดับใดระดับหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารถึงการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า รวมถึงรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและสถาบันการเงิน ในปัจจุบันธนาคารกลางญึ่ปุ่น (BOJ) และออสเตรเลีย (RBA) ได้ใช้มาตรการ YCC โดยในกรณีของ BOJ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับสูงขึ้นจากระดับติดลบเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจประกันชีวิตและกองทุนบำเน็จบำนาญ ในขณะที่ RBA เลือกที่จะควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี ให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อไม่ให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรลาดเอียงจนเกินไป (flattening yield curve) จนกระทบเสถึยรภาพของสถาบันการเงิน
          • ในระยะสั้นนี้โอกาสที่ ธปท. จะดำเนินมาตรการ yield curve control ในไทยยังมีจำกัด เนื่องจาก 1) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาวในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว แม้ว่า ธปท. จะไม่มีการเข้าซื้อสินทรัพย์อย่างมีนัยในช่วง พ.ค.-ก.ย. ที่ผ่านมา 2) ความชันของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังไม่ลาดเอียง (flat) เกินไปจนสร้างความเสี่ยงให้แก่สถาบันการเงิน และ 3) คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน (well-anchored) อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไป หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาวปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว EIC ประเมินว่า ธปท. พร้อมกลับมาเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอีกครั้ง และอาจประกาศใช้ YCC เพื่อจุดประสงค์ด้านการสื่อสารร่วมด้วย
          • มาตรการ Negative Interest Rate Policy (NIRP) มีส่วนช่วยให้ภาวะการเงินผ่อนคลายมากขึ้นในบางประเทศ แต่ก็มีข้อจำกัดในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในทางปฏิบัติ แม้ใช้ NIRP แต่สถาบันการเงินอาจไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจนติดลบได้ (เพราะอาจเกิดการถอนเงินฝากเปลี่ยนไปถือเงินสดแทน) และเพื่อรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin : NIM) ไม่ให้ปรับลดลงมากนัก สถาบันการเงินจึงอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่น้อยกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นอุปสงค์ได้เต็มที่นัก
          • ความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการ Negative Interest Rate Policy ในไทยมีไม่มากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดแล้ว (bottomed out) ภาวะการเงินไทยเริ่มผ่อนคลายลงมาบ้าง ประสิทธิภาพของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีน้อยลง (เข้าใกล้ effective lower bound) และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมากเป็นเวลานานอาจสร้างความเปราะบางเพิ่มเติมต่อเสถียรภาพระบบการเงินในอนาคต

Download

[อ่านฉบับเต็ม]

 


A10020

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!